ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
อคติทางปัญญาhttps://hmong.in.th/wiki/Cognitive_biases
"จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้" ที่ ไอน์สไตน์ ให้พวกเราเชื่อใจในจินตนาการของตัวเองมากกว่าความรู้ที่พวกเรามี และจินตนาการของไอน์สไตน์ หมายถึงความกล้าที่จะคิดหลุดออกมาจากกรอบเดิมๆ เมื่อมีหลักฐาน ข้อเท็จจริง และเหตุผลรองรับที่เพียงพอ ไม่ใช่การเพ้อฝันไปโดยขาดหลักการและเหตุผล
วิถีใหม่
เป็นคำที่รัฐราชการไทย ภายใต้การกำกับของ T้hink Tank ของรัฐบาลทหารเฒ่าที่ผลิตวาทกรรมออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้ เพราะแนวทางที่นำมาดำเนินการนั้น ช่างเป็นแนวทางที่ล้า่สมัย ภายใน Mind Set ของขุนนางในยุคกรุงศรีอยุธยา แต่กำลังเติบโต และสร้างความล้าหลังวให้กับประเทศชาติ
ความท้ายทาย
การเดินฝ่าฟันสู่สังคมนิรภัย เราต้องฟาดฟันกับปราการอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ คือ
1. รัฐราชการที่โกหกล่อลวง และหน้าด้านทำตัวเป็นพ่อรู้ดี
เมื่อพิจารณาจากผลที่ควรได้รับจากการแก้ปัญหาสาธารณภัยต่างๆ แล้ว น่าแปลกที่หลายๆ สถานการณ์ได้ชี้ให้รู้ว่ารัฐราชการเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา (ในที่นี้ ไม่ได้ศึกษาจากผลความพึงพอใจของผู้ประสบสาธารณภัย) เป็นตัวค้ำยันกลไกสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย (จากการประเมินจาก CS Global Wealth Report 2018 ที่ออกมาเมื่อเดือน ต.ค.2561 ไทยขึ้นอันดับหนึ่ง เมื่อปี หลังจากติดหนึ่งในสิบอยู่หลายทศวรรษ https://www.thairath.co.th/news/society/1438630)
ภารกิจรับจ้างสร้างความคลุมเคลือหรืออย่างไรกัน
สถาบันคลุมสมองของไทย (TDRI)ได้เผยแพร่ผลการประเมินฉากทัศน์อนาคตจากภาวะโลกรวนของไทย 4 ฉากทัศน์ คือ
1. ไทยหม่น (Gloomy)
2. ไทยหมองมลพิษ (Brownie)
3. ไทยผลิบาง (Green but vulnerable)
4. ไทยยืดหยุ่นและยั่งยืน
บัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูงติดอันดับโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 20 สำนักงานนโยบายธรรมชาติและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) ระบุว่าในปี 2559 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ขณะที่ป่าไม้และการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ราว 91 ล้านตันคาร์บอนฯ ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทยอยู่ที่ 263 ล้านตันคาร์บอนฯ
1.ภาคพลังงาน 253,895 ตันคาร์บอนต่อปี
2.ภาคเกษตร 52,158 ตันคาร์บอนต่อปี
3.ภาคของเสีย 16,771 ตันคาร์บอนต่อปี
4.ภาคกระบวนการ อุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ 31,531 ตันคาร์บอนต่อปี
น้ำท่วมฉับพลันแบบไม่ได้ตั้งตัวอุทกภัยเปลี่ยนไป : จากทยอยเพิ่มระดับสูงขึ้น นับวันจะเปลี่ยนเป็นแบบฉับพลันเพิ่มมากขึ้น เดิมคนไทยจะคุ้นชินกับเหตุการณ์อุทกภัยทั้งที่เกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากปัญหาระบบระบายน้ำที่มักใช้เวลาหลายๆชั่วโมงหรือเป็นวันกว่าที่น้ำจะท่วมสูง ทำให้ผู้ประสบภัยมีเวลาเตรียมตัวในการอพยพ แต่นับจากปี 2564 คนไทยประสบกับสถานการณ์น้ำท่วมแบบฉับพลันแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ในหลายๆ จังหวัด เช่น ที่จังหวัดสุโขทัย https://www.bangkokbiznews.com/news/962162 จังหวัดเชียงราย https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6558502 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951923 จังหวัดนครราชสีมาที่อำเภอปากช่อง อำเภอเมืองนครราชสีมา https://www.youtube.com/watch?v=-JOiqdvPfWQ จังหวัดพัทลุง https://www.youtube.com/watch?v=jR07GSo24FY จังหวัดขอนแก่น https://mgronline.com/local/detail/9640000099113 โดยมาจากปัจจัย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปรากฏการณ์ฝนตกหนัก และแหล่งกักเก็บน้ำ/ฝาย/อ่างเก็บน้ำแตก
การรังสรรค์เพื่อความปลอดภัยการรังสรรค์ การประกอบสร้างจากองค์ประกอบรอบๆ ตัวนั้น มนุษย์เรียกได้ว่ามีความสามารถอันยอดเยี่ยม มีความเป็นเลิศแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นๆ ที่ทำได้เพียงประกอบสร้างมาจากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียว หรือบางประเภทก็ประกอบสร้างมาจากสัญชาตญาณ แต่มนุษย์ประกอบสร้างมาจากการเรียนรู้ที่สะสมส่งต่ออย่างเป็นระเบียบจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
การจัดการสาธารณภัยแบบผายมือไปที่ประชาชนการผายมือ เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เมื่อมนุษย์มีความกลัว มีความโกรธ และความไม่รู้ พวกเขามักมองหา ‘คนนอก’ มารับผิดชอบกับหายนะที่เกิดขึ้น เราเรียกการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวว่า "การผายมือ" การผายมือเป็น ‘พฤติกรรม’ ที่ใช้ปกป้องตนเองจากความผิดที่ตนควรจะต้องรับผิดชอบ เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้จัดการกับความสับสนในตัวเอง เมื่อบวกรวมกับความกลัวที่จะถูกลงโทษไม่ว่าจากสิ่งที่มองเห็นหรือมองไม่เห็น จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะรีบโยนความผิดไปให้ ‘แพะ’ สักราย ที่เราล้มเหลวผิดพลาดห่วยแตกมันเป็นเพราะคนอื่น โดยเฉพาะที่อยู่ต่ำกว่าเรา
ความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติปล่อยให้ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติถาโถมเรายิ่งขึ้น ด้วยมรดกของเผด็จการรัฐราชการ ภายใต้การปกครองแบบกึ่งทาสกึ่งเท่าเทียม สภาพแวดล้อมไม่เพียงด้านทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในด้านสังคม เราก็ไม่มีใครทำให้เราคิดได้ ไม่ว่าจะนักวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ และนักวิชาการที่ได้ชื่อว่าอิสระก็ตาม แม้เราอาจจะไม่ต้องการวิธีการที่ซับซ้อนมากนัก เพียงเรื่องเล่าซื่อๆ ตรงๆ ก็มีน้อยเต็มที ทำให้เราลืมเลือนความทรงจำทางวัฒนธรรมภัยพิบัติ
สาธารณภัยกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดรากลึกๆ ของการลอยนวลพ้นผิด ลอยนวลพ้นผิดจากการไม่มีความรับผิดชอบต่อผลของการทำงานตามภารกิจอำนาจหน้าที่ยังพอที่จะอยู่ร่วมกันอย่างพอจะพูดจากันได้ ให้ขับเคลื่อนไปสู่ความผาสุกร่วมกันในระดับที่ยอมรับกันได้ ระดับของการลอยนวลพ้นผิดในประเทศไทย มี ๔ ระดับ คือ 1. ไม่รู้ตัว 2. รู้ตัวแต่ไม่มีความสามารถที่จะปรับพัฒนาตัวเองได้ 3. รู้ตัวแต่เพิกเฉยต่อการปรับปรุงพัฒนา 4. รู้ตัวพร้อมฉกฉวยโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและองค์กร
ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพของรัฐที่ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติเยาวชนเห็น รัฐปรสิตไม่เห็น ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐ ที่ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์วิกฤต หากมองเปรียบเทียบกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ พอจะเห็นรูปแบบ/พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของความไร้ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1. คนภายในรัฐปรสิตจะติดกรอบเวลา เจ้าหน้าที่บางคนจะถูกครอบงำอยู่ภายในกรอบเวลาของรัฐปรสิตตลอด 24 ชั่วโมง เสพสื่อเก่าที่มีโครงสร้างวิธีคิดและเนื้อหาที่เคยเป็นมา(ซึ่งยุคนี้ก็ต้องเรียกยุค 3 ป.+ยุคอยุธยา) เยาวชนจะไม่มีกรอบเวลามองย้อนหลัง มองไปข้างหน้าได้เป็นอนันต์ด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
|