ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
วิเคราะห๋น้ำท่วมปี 64 เทียบกับปี 54
ปี 64 ท่วมจากน้ำหลากจากพื้นที่ที่มีฝริมาณฝนตกมาก ส่วนปี 54 นอกจากจะมีมวลน้ำหลากจากพื้นที่ที่มีฝริมาณฝนตกมากแล้ว ยังมีมวลน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำน้ำที่ปลอยออกมาเนื่องจากเกินปริมาณกักเก็บ ทำให้น้ำหลากจากพื้นที่ไหลลงแม่นำ้ได้ช้ามาก เพราะมีน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำ (อ่าง+ฝาย) ครองพื้นที่แม่น้ำลำคลองอยู่แล้ว ทำให้หลากท่วมลงมาตลอดที่ราบลุ่ม
คำทำนายของชุมชนอีสานโบราณ
นาจะเป็นบ้าน เกียจคร้านจะอดตาย ภูเขาจะย้าย แผ่นดินจะเดิน พระจะไม่เชื่อสมภาร พญามารจะสู้ผู้ครองเมือง เสือเหลืองจะปล้นบ้าน(คนที่มีใจดุร้ายเหมือนเสือจะสามารถใช้กฏเกณฑ์ปล้นประชาชนได้อย่างหน้าด้านๆแม้ในยามทุกข์กับภัยพิบัติก็ไม่เว้น) ห้วยหนองคลองจะแคบ แกลบจะมีราคา (ส่วนที่ไม่ใช่ความจำเป็นจะมีมูลค่าซื้อขายกันมากกว่า) หมูหมาคนตายไม่ต้องเป็นไข้(อุบัติเหตุอุบัติภัยมากขึ้น) โรคใหม่จะมากินคน ใต้ตีนมนจะออกเขา เสาจะกินเงิน มนุษย์เดินดินจะกินน้ำพญานาค คนทุกข์ยากจะแห่เข้าเมือง คนนุ่งผ้าเหลืองจะเอาเมีย คนจะเกิดเหลือน้อยลง สัตว์ป่าดงพงพีจะสูญพันธ์ คนคุยกันจะชักหาง ขุนนางจะขอทาน(คนในภาครัฐทำงานทำภารกิจใดๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อคนที่จ่ายเงินเลี้ยงดู) ชาวบ้านจะออกรบ ศพจะเกลื่อนเมือง
เร็วสุดๆ ในสยามยามเกิดภัยพิบัติ (ต้องยกให้รัฐปรสิต)
แนวคิด Dr.Dan Can Do Early Pre-Crisis Manaement ที่มี 5 ขั้นตอนรอดพ้นจากวิกฤตเป็นไปได้สูง คือ
1. จับสัญญาณวิกฤตได้เร็วสุด (Early Warning Signal Detection)
2. รวบรวมข้อมูลได้เร็วสุด (Early Information Collection)
3. วิเคราะห์คาดการณ์วิกฤตได้เร็วสุด (Early Foresight Analysis)
4. วางแผนป้องกันวิกฤตได้เร็วสุด (Early Prevention Plan)
5. ปฏิบัติการก่อนวิกฤตได้เร็วสุด (Early Pre-Crisis Action)
สาธารณภัยต้อง(ไม่)อิกนอร์
มองเผินๆ ย่อมเข้าใจผิดไปว่าทุกคนใส่ใจในสาธารณภัยด้วยกันทั้งนั้น เรียกว่าไม่อิกนอร์นะจ๊ะ (ignorant หมายถึงการไม่ใส่ใจไม่ได้ค้นหา ไม่ได้ศึกษา และไม่ได้ติดตาม))https://www.voicetv.co.th/read/0FjZIRHKB เพราะตามหลักวิชาจิตวิทยาของ Wiliam James (1842 - 1910) ที่กล่าวว่าความหวัง ความรัก ความปรารถนา ความกลัว ฯลฯ ล้วนอยู่ในสมองของเรา และสังคมมนุษย์ที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจากอดีตที่ผ่านมา ตามแนวคิดของคาร์ล จุง (1875 - 1961) ที่มีแนวคิดว่าสังคมพัฒนาขึ้นมาจากวิวัฒนาการของมนุษย์ในฐานะสัตว์สังคมและจิตใต้สำนึกในการมุ่งสร้างสิ่งที่ดีขึ้นเพื่อชดเชยสิ่งที่เป็นที่ต้องการ
พายุตามธรรมชาติได้มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นิดหน่อย ทุกวันนี้ก็จะเห็นผลกระทบที่มีความเสียหายมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะมนุษย์มีการให้ความหมายมูลค่าในพื้นที่ทางกายภาพครอบคลุมถึงร้อยละ 97 รัฐราชการที่มีหน่วยงานมากมายและกำลังพลกพลังทรัพยากรมากมายเขาทำอะไรกันอยู่ ดูจากที่เขาออกมาอบรมตามชุมชนต่างๆ ว่าพวกเขามีคุณค่าแค่ไหนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เท่าที่จดบันทึกได้จะมีรายละเอียด ดังนี้
หลักการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างเพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการlสัญจรตำแหน่งที่ควรติดตั้งหลอดไฟส่องสว่าง เพื่อให้มีโอกาสมองเห็นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นได้ในระยะไกล และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในผู้สัญจรทางเท้าให้มีความปลอดภัยในการมองเห็นในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุการสัญจรบนถนน รวมถึงความปลอดภัยจากอาชญากรรมจากการเดินทางบนถนนมากยิ่งขึ้น โดยพิจารณาตามลำดับความสำคัญได้ ดังนี้
อุทกภัย 2564 ไร้ความสามารถอย่างน่าผิดหวังความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเป็นสําหรับสาธารณภัยนั้น ต้องแสดงคุณลักษณะให้โดดเด่น ดังนี้ 1. ดึงความสนใจสังคมสู่ประเด็นวิกฤตได้อย่างถูกต้อง อันมาจากสมรรถนะความเชี่ยวชาญการวิเคราะห์สถานการณ์ จนรู้ว่าจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ที่จะให้สังคมนิรภัยอย่างแม่นยำหรืออริยสัจองค์กร (อริยสัจ 4 ขององค์กร)
เตี้ยนหมู่ พญามารรัฐราชการเตี้ยนหมู่สู่แดนกะลา จากกรณีพายุ "เตี้นหมู่" มีเส้นทางผ่านประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 ได้ทำให้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศมีปริมาณฝนตกหนัก ประชาชนได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่า "น้ำรอการระบาย" ซึ่งจะต้องเรียกว่า "นำ้รอปัญญา"
การแก้ไขปัญหาน้ำรอการระบายสภาพปัญหาน้ำท่วมขัง (น้ำรอการระบาย ที่เป็นวาทกรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารเฒ่าผลิตออกมาตบหัวประชาชน เอ๊ยน้ำรอการระบายอย่าเรียกน้ำท่วม อยู่เฉยๆ เดี๋ยวมันก็ระบายเหือดหายไปเอง) สภาพนิเวศที่แท้จริงหรือปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไม่มีการเตรียมการเรื่องการระบายนำ้ที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอกับปริมาณนำ้ฝนที่ตก และปริมาณพื้นที่แอ่งกระทะ (พื้นที่ที่ไม่สามารถระบายนำ้ออกได้ตามธรรมชาติ(ไหลไปท่อระบายน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือลำคลองตามธรรมชาติ))
โมเดลการพัฒนาบุคลากรสาธารณภัยในประเทศไทย
การใช้ SKKFF โมเดล ในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านสาธารณภัยเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 รองรับภารกิจตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ((พ.ศ.2561-2580) รวมทั้ง ให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) มีแนวทางการใช้กระบวนงาน SKKFF โมเดล เพื่อพัฒนาต่อไปนี้
ฮัฟรูทาสาธารณภัย
Havruta (ฮัฟรูทา) เคล็ดลับสร้างศักยภาพ ด้านการเรียนแก่เด็กของชาวยิว วิธี “ฮัฟรูทา”เป็นวิธีให้เด็กจับคู่กันเรียนในประเด็นที่น่าสนใจ พร้อมผลัดกันตั้งคำถามและอธิบายความคิดของตนเอง และใช้ทักษะในการโน้มน้าว ตั้งคำถาม โต้แย้ง แลกเปลี่ยนความคิดเชิงวิพากษ์กับคู่เรียน ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นดังกล่าวเพราะอะไร และจบด้วยการสะท้อนความคิดของตนเองและเพื่อนเพื่อสรุปบทเรียนที่ได้รับ รวมถึงการร่วมมือกันอย่างมีวิจารณญาณเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหม่ อันจะทำให้เด็กรู้จักร่วมมือร่วมใจกัน ฝึกมีทักษะการคิดเชิงวิพากย์ และทักษะการเข้าสังคมเป็นอย่างดี วิธีการเรียนรู้แบบ Havruta สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1.การค้นหาหัวข้อที่สนใจ (examine) 2.ตั้งคำถาม (Question) 3.โต้วาที (Debate) 4.สะท้อนความคิด (Reflect)
|