ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
สิ่งที่พื้นที่ประสบภัยพิบัติต้องการ
แน่นอนว่าในยามประสบภัยพิบัติ ก็ต้องการให้มีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนให้สามารถลดความสูญเสียหรือเบาผลกระทบให้ได้รับน้อยที่สุด แต่ในยามที่ไม่ประสบภัยพิบัติพื้นที่ที่เคยประสบภัยพิบัติยังมีความต้องการจำเป็นในการรับรู้รายละเอียดความเสี่ยงภัยพิบัติจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ภาครัฐอ้างความชอบธรรมของตนเองที่คงอยู่รับเงินภาษีจากประชาชนมาทำงานตื้นๆ เพียงชี้ความผิดของประชาชนชี้ไปที่ความผิดปกติของธรรมชาติ มีปัญญาทำเท่านั้นจริงๆ และไม่เคยเห็นว่าจะมีปัญญาทำมากกว่านั้นได้สักที เช่น ปัญหาเมาแล้วขับ สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ นักเรียนแท้ๆ ขับมอเตอร์ไซค์ซ้อนสาม หรือปิกอัพบรรทุกคนข้างท้าย เรื่องพวกนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคำสั่ง หรือการตั้งด่านตรวจ หรือการเอาความเป็นคนดีหรือความดีมาอ้าง
การผลิตซ้ำพฤติกรรมคลุมหัว
จากกรณีข่าวดังของวงการรัฐราชการรวมศูนย์ในปี 2564 ถือเป็นความซ้ำซากและผลิตซ้ำตลอดเวลาของรัฐราชการ โดยที่เหตุการณ์ที่ 1.ที่ สภ.ใหญ่กลางเมืองนครสวรรค์ผู้ชายคนหนึ่งถูกพลาสติก 6 ชั้นซ้อนกันคลุมหัวทุบตีทรมานจนตาย https://www.benarnews.org/thai/news/th-custody lการผลิตซ้ำคือ (เหตุการณ์ที่ 2) การที่ สตช. คนไทยทั้งหลายถูกเอาพลาสติกคลุมหัว12 ชั้น เพื่อกล่อมคนไทยทั้งชาติให้เห็นศักดิ์ศรีความยิ่งใหญ่ของ สตช.ที่จะยังอยู่เรียกค่าคุ้มครองต่อไป ไม่ต้องไปอยู่ อปท.แต่ละจังหวัด https://www.posttoday.com/social https://www.thaipost.net/main/detail/114789
ต้องพัฒนาความเป็นธรรมถึงจะอยู่รอดปลอดภัย
ทัศนคติพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ทั้งตามคุณลักษณะทางกายภาพและทั้งคุณลักษณะทางจิตใจ แต่ในความเท่าเทียมกันนั้น เพื่อพัฒนาสังคมให้มีองค์ประกอบในการวิวัฒนาการต่อไปหรืออาจร้ายแรงจน(ฆ่ากันตาย) สูญพันธ์กันเพียงไม่กี่รุ่นต่อไปนั้น มนุษย์จำต้องพัฒนาความเป็นธรรมให้มีขึ้นในสังคม
ข้อผิดพลาดในการสื่อสารในยามวิกฤตหรือยามเผชิญสาธารณภัย แม้จำนวนการสื่อสาร จำนวนช่องทางการสื่อสาร ยี่งมากยิ่งเป็นประโยชน์ แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ดี เพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนี้
การเรียกต้องเรียกตามที่กฎหมายนิยามความหมายไว้ ซึ่งมีการกำหนดความหมาย ดังนี้
1.ระดับกฎหมายที่เป็น พ.ร.บ. คือ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
ตามมาตรา 4 ในระเบียบดังกล่าว ให้ความหมายของ สาธารณภัย ไว้ว่า "อัคคีภัย วำตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาด สัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่ำเกิดจำกธรรมชาติ มีผู้ทำ ให้เกิดขึน อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรำยแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย"
ต้นทุนทางสังคมและทุนทางสังคมในยามเผชิญสาธารณภัย
ทุน(capital) คือปัจจัยการผลิตประเภทหนึ่ง ส่วนต้นทุน (cost) คือสิ่งที่ต้องยอมสูญเสียเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เช่น ต้นทุนค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น เมื่อนำมาอธิบ่ายพฤติกรรมทางสังคม จึงได้ความหมาย ดังนี้ 1. ทุนทางสังคม (social capital) ซึ่งหมายถึง ผลกระทบเชิงบวกหรือปัจจัยทางสังคมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น หรือทำให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มต่อการผลิตหรือการพัฒนานั้น 2. ต้นทุนทางสังคม (social cost) หมายถึง ความสูญเสียหรือผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับสังคม อันเนื่องมาจากการประทำใดการกระทำหนึ่ง เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไม่มีแบบแผน อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จิตวิทยาสู้โควิด 2019
ปรับตัวอย่างไรในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับคนที่ยังพอจะมีสายป่านยาวสักปี หลักยึดเหนี่ยวต่อไปนี้ก็จะช่วยให้เราเป็นสุขมากขึ้น แต่จะใช้ไม่ได้เลยสำหรับคนที่ยังต้องดิ้นรนหาเช้ากินค่ำ
ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชาติ
เมื่อเกิดสาธารณภัย บทบาทการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานจะต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะ “ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด” เมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือเมื่อเกิดโรคระบาดอย่างปัจจุบัน ผู้ว่าฯ ก็มีบทบาทตามที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้เป็น “ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด” อีกทั้ง แนวทางการจัดการสาธารณภัยส่วนใหญ่ลอกแนวคิดมาจากญี่ปุ่นมาขับเคลื่อนตามญี่ปุ่น แต่ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการการปกครองที่แตกต่างกัน จึงเรียกได้ว่า แนวคิดดีๆ ที่เอามาใช้ในประเทศไทยก็เป็นอันล้มเหลว
เมื่อปีศาจคาบคัมภีร์บริหารจัดการวิกฤตโควิด 19
เมื่อปีศาจคาบคัมภีร์ (คนดีย์แบบสลิ่ม) ได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการในยามวิกฤต พวกเขาจะเน้นโชว์ให้เห็นศักยภาพของพวกเขา โดยจะให้เห็นเด่นชัดทางกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงวิกฤตโควิด 19 เขาจะมีมาตรการล๊อกดาวน์แบบเพ้อฝันลมๆ แล้งๆ (ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ในอดีต 100-200 ปีที่แล้ว ที่ต่อสู้กับโรคอหิวาห์ โรค ฯลฯ) โดยที่ไม่สามารถหวังได้ว่าจะหยุดการแพร่ระบาดได้
คุุณภาพการศึกษาที่ด้อยค่าเยาวชนต้นเหตุความรุนแรงสาธารณภัย
คุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ปี 2012 การวัดระดับคุณภาพการศึกษาจากองค์กรระดับนานาชาติ ปรากฏว่าคะแนนสอบ pisa เด็กไทยได้คะแนนแย่ลงเรื่อยๆ https://www.bbc.com/thai/international-50642536 ทั้งๆ ที่งบประมาณที่ทุ่มให้กับการศึกษานั้น เทลงไปถึง 25 %ของงบประมาณประเทศ และมีข้อคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายว่าระบบการศึกษาไทยยังเป็นแบบท่องจำทั้งท่องจำในเนื้อหาวิชาหลัก และท่องจำค่านิยมเด็กดี/คนดีในอาณานิคมของชนชั้นปกครอง ทั้งครูทั้งนักเรียนก็อยู่ในกรอบนี้เหมือนๆ กัน ถึงแม้จะเอาครูไปสอบ pisa แทนเด็ก คะแนนที่ได้ของประเทศก็อยู่ลำดับท้ายๆ ไม่แตกต่างกัน
ปภ.จำกัดนี่เองที่ผลิตซ้ำหายนะ : ทาสีผู้กระทำการทางสังคมมิให้มองเห็นการแข็งขืนขัดแย้งกับรัฐราชการรวมศูนย์ด้านสาธารณภัย
วันนี้ได้อ่านบทความของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ทำให้ทราบว่าในอดีตช่วงทศวรรษ 1970 - 1980 ชุมชนท้องถิ่นมีการต่อต้านขัดขืนกับอำนาจรัฐไทยตลอดเวลา ทำให้รัฐไม่สามารถครอบงำท้องถิ่นได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะชาวนาในชนบทได้ต่อสู้ขัดแย้งกับผู้ปกครองแบบรัฐไทยที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/238?
|