ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
การผูกขาดความปลอดภัยโดยรัฐราชการปรสิต ผลลัพธ์ที่ได้จากการเสียภาษีและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยการผูกขาดความปลอดภัยโดยรัฐราชการปรสิต มาพร้อมกับความก้าวหน้าหรือพลวัตของการจัดระเบียบการเมืองการปกครองของสังคม(https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34940)อิทธิพลจากลัทธิความเชื่อทั้งลัทธิเสรีนิยมใหม่ (https://www.the101.world/the-liberal-thai-state/)และลัทธิชาตินิยมใหม่(https://th.wikipedia.org/wiki/B2)
ค่าความพร้อมปลอดภัยประเทศไทยมีค่าความพร้อมปลอดภัยถูกรัฐราชการฉ้อฉลกับค่าความพร้อมปีละหลายแสนล้านบาท ไม่ว่าค่าความพร้อมรบป้องกันประเทศ ค่าความพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้า ค่าความพร้อมปลอดภัยจากภัยพิบัติ ค่าพร้อมในการกู้คืนระบบไอที ค่าความพร้อมฯลฯ ประชาชนชาวไทยได้ปล่อยให้ความพร้อมต่างๆ เป็นโอกาสที่ผู้คุมอำนาจรัฐราชการได้กอบโกยสร้างความร่ำรวย ทั้งนี้ ค่าความพร้อม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ถ้าค่าความพร้อมที่ไม่จำเป็นต้องมีความสำเร็จในแต่ละพื้นที่ ซึ่งมักจะเป็นโครงการใหญ่ เช่น ค่าความพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้า ก็จะมีผู้กุมอำนาจที่เหนือรัฐราชการเข้ามามีส่วนร่วม 2. ถ้าค่าความพร้อมที่จำเป็นต้องอาศัยผลสำเร็จในแต่ละพื้นที่ เช่น ค่าความพร้อมปลอดภัยจากภัยพิบัติ ก็จะเป็นผู้กุมอำนาจรัฐ 3. ค่าความพร้อมของมาเฟีย เช่น ค่าความพร้อมรบป้องกันประเทศ ค่้าความพร้อมในการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นวาทกรรมที่สร้างความมึนงงให้กับประชาชนตลอดมานับตั้งแต่สถาปนารัฐราชการ (ราชการเป็นคนควบคุมนโยบายของรัฐ ซึ่งในยุค คสช.ก็กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีขึ้นมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเพียงตัวหลอก เพราะเป็นขอบเขตกว้างๆ ราชการจะไปออกนโยบายปฏิบัติตามอำเภอใจ ตามอำนาจผลประโยชน์ของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม หรือตามความหมายของชัชฎา กำลังแพทย์ ให้นิยามรับราชการว่า เครือข่ายของตัวแสดงของกลุ่มเครือข่ายข้าราชการ ทหาร พลเรือนที่เปิดให้ภาคประชาสังคมและกลุ่มทุนบางกลุ่มเข้ามาแบ่งปันอำนาจและสร้างเครือข่ายในการบริหารด้วยกัน ยิ่งยุค คสช.ยุค คสช. การขยายตัวยิ่งมากขึ้นและต่างมีอิสระของตนเอง ทำให้อำนาจการบริหารปกครองอยู่ที่กรมหรือกรมาธิปไตย แต่มีประสิทธิภาพต่ำเพราะไม่บูรณาการการทำงานร่วมกัน ) https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A ( https://www.matichonweekly.com/column/article_134715 งานของราชการด้านสาธารณภัย เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็นเพราะสามารถดึงเอาทรัพยากรจากสังคม และขณะเดียวกันก็มีอำนาจในการควบคุมสังคม พร้อมกับการมีความเป็นอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตนที่สังคมไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น จากสถานะของรัฐราชการดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้รัฐราชการส่วนที่กุมอำนาจรัฐด้านสาธารณภัย สามารถกำหนดค่าความพร้อมปลอดภัยได้ตามอำเภอใจ และมีค่าความพร้อมสุงกว่าที่ควรจะเป้น ------------------xxxxxxxxxxxxxxxxx---------------------- ปัญหาอุปสรรคอะไรเล่าที่เรากลับนับวันจะมีสาธารณภัยเพิ่มขึ้นๆ ทุกวันๆแม้ในเว็บไซต์นี้ จะพูดถึงแต่ความเลวร้ายต่างๆ นานาของมนุษย์ แต่หนทางที่จะนำเราสู่สังคมนิรภัยนั้น เราต้องเดินในแนวทางที่มนุษย์เรานั้นมีความดีลึกๆ ซุกซ่อนอยู่ และพร้อมที่จะให้คุณค่าแก่มวลมนุษย์ในทุกมิติ
การจัดการสาธารณภัยแบบผายมือไปที่ประชาชนการผายมือ เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์เมื่อมนุษย์มีความกลัว มีความโกรธ และความไม่รู้ พวกเขามักมองหา ‘คนนอก’ มารับผิดชอบกับหายนะที่เกิดขึ้น เราเรียกการแสดงพฤติกรรมดังกล่าวว่า "การผายมือ" การผายมือเป็น ‘พฤติกรรม’ ที่ใช้ปกป้องตนเองจากความผิดที่ตนควรจะต้องรับผิดชอบ เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้จัดการกับความสับสนในตัวเอง เมื่อบวกรวมกับความกลัวที่จะถูกลงโทษไม่ว่าจากสิ่งที่มองเห็นหรือมองไม่เห็น จึงไม่แปลกอะไรที่เราจะรีบโยนความผิดไปให้ ‘แพะ’ สักราย ที่เราล้มเหลวผิดพลาดห่วยแตกมันเป็นเพราะคนอื่น โดยเฉพาะที่อยู่ต่ำกว่าเรา
สาธารณภัยกับวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดรากลึกๆ ของการลอยนวลพ้นผิด ลอยนวลพ้นผิดจากการไม่มีความรับผิดชอบต่อผลของการทำงานตามภารกิจอำนาจหน้าที่ยังพอที่จะอยู่ร่วมกันอย่างพอจะพูดจากันได้ ให้ขับเคลื่อนไปสู่ความผาสุกร่วมกันในระดับที่ยอมรับกันได้ ระดับของการลอยนวลพ้นผิดในประเทศไทย มี ๔ ระดับ คือ 1. ไม่รู้ตัว 2. รู้ตัวแต่ไม่มีความสามารถที่จะปรับพัฒนาตัวเองได้ 3. รู้ตัวแต่เพิกเฉยต่อการปรับปรุงพัฒนา 4. รู้ตัวพร้อมฉกฉวยโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและองค์กร
เมื่อใดเรียก "ภัยพิบัติ"และเมื่อใดจะเรียก "สาธารณภัย"
การเรียกต้องเรียกตามที่กฎหมายนิยามความหมายไว้ ซึ่งมีการกำหนดความหมาย ดังนี้ 1.ระดับกฎหมายที่เป็น พ.ร.บ. คือ พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ตามมาตรา 4 ในระเบียบดังกล่าว ให้ความหมายของ สาธารณภัย ไว้ว่า "อัคคีภัย วำตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาด สัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่ำเกิดจำกธรรมชาติ มีผู้ทำ ให้เกิดขึน อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรำยแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย"
|
|
|