ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
กะลาสาธารณภัย : การเตรียมการล่วงหน้าภายใต้กะลาสาธารณภัย ได้มีการจัดการสาธารณภัยในด้านการเตรียมการล่วงหน้า สมราคากับ "รัฐราชการปรสิต" (การสูบการขูดรีดทั้งเงินเดือนค่าตอบแทนและแป๊ะเจี๊ยะจากแผนงงานโครงการ รวมทั้งการปฏิบัติงา่นประจำวัน โดยอาศัยระบอบปกครองและการเมืองซึ่งอำนาจบริหาร และอำนาจกำหนดนโยบายอยู่ในมือของข้าราชการเองทั้งหมด)
การควบคุมโรคระบาดกับการควบคุมพื้นที่จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศไทย ในช่วงเวลา 3 ปี (2563-2565) โดยใน 2 ปีแรก รัฐราชการไทยได้มุ่งเน้นใช้มโนทัศน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดโดยการควบคุมพื้นที่ทางกายภาพ (เป็นการดำเนินงานในระบบราชการ 0.4 ทั้งที่ได้ประกาศนโยบายประเทศไทย 4.0 มุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ควบคู่กับใช้มโนทัศน์ตีตราจริยธรรมและมโนทัศน์จรรโลงความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกทั้งโฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของนานาชาติอีกด้วย (สถาบันคลุมสมอง TDRI เป็นหน่วยงานที่ออกรายงานผลการศึกษา) จนปี 2565 แม้สถานการณ์จะติดเชื้อวันละ พันวันละหมื่นคนรัฐบาลก็ไม่สามารถนำบทเรียนการระบาดระลอกใหญ่ 4 ครั้งที่ผ่านมามาเป็นบทเรียนสำหรับการคิดออกแบบระบบใหม่ในการบริหารจัดการภาครัฐ การมองอย่างองค์รวมของปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ออกแบบระบบสวัสดิการพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพที่เกิดประโยชน์ถ้วนหน้า
การแก้ไขปัญหาน้ำรอการระบายสภาพปัญหาน้ำท่วมขัง (น้ำรอการระบาย ที่เป็นวาทกรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารเฒ่าผลิตออกมาตบหัวประชาชน เอ๊ยน้ำรอการระบายอย่าเรียกน้ำท่วม อยู่เฉยๆ เดี๋ยวมันก็ระบายเหือดหายไปเอง) สภาพนิเวศที่แท้จริงหรือปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไม่มีการเตรียมการเรื่องการระบายนำ้ที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอกับปริมาณนำ้ฝนที่ตก และปริมาณพื้นที่แอ่งกระทะ (พื้นที่ที่ไม่สามารถระบายนำ้ออกได้ตามธรรมชาติ(ไหลไปท่อระบายน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือลำคลองตามธรรมชาติ))
เตี้ยนหมู่ พญามารรัฐราชการเตี้ยนหมู่สู่แดนกะลา จากกรณีพายุ "เตี้นหมู่" มีเส้นทางผ่านประเทศไทยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2564 ได้ทำให้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศมีปริมาณฝนตกหนัก ประชาชนได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่า "น้ำรอการระบาย" ซึ่งจะต้องเรียกว่า "นำ้รอปัญญา"
การตัดสินในในภาวะวิกฤต : Black Box Model แบบกล่องดำ
การตัดสินใจในภาวะวิกฤต มี 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 แบบท่านขุน รูปแบบที่ 2 แบบคำบอกเล่าประจบเอาหน้าเอาใจ รูปแบบที่ 3 แบบกล่องคำ ซึ่งแบบกล่องดำมีลักษณะในการตัดสินใจ ดังนี้
บทเรียนการรับมือการแพร่ระบาดของโรคระบาดจากกรณีโควิด 19
บทเรียนการรับมือการแพร่ระบาดของโรคระบาดจากกรณีโควิด 19 ในประเทศเทศไทย ตั้งแต่ ต้นปี 2563 ถึงต้นปี 2565 จากการที่รัฐบาลไทยนิ่งนอนใจต่อสัญญาณวิกฤต ไม่เตรียมพร้อมรับมือ ดำเนินการเพียงการตั้งรับแบบปัดข้อเท็จจริงการระบาดไว้ใต้พรม ให้มีกักตัว มีการประกาศปิดพื้นที่บางแห่ง ซึ่งดูเหมือนรัฐบาลจะโฆษณาชวนเชื่อว่าทำได้ดีจนทั่วโลกยกย่องชมเชยhttps://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2149693
การสรรสร้างพื้นที่ความปลอดภัยจากโควิด 19
การสรรสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากโควิด 19 เนื่องจากไวรัสโคโรน่า 2019 เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ โดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งใจผลิตความสัมพันธ์นี้ขึ้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยหรือปฏิเสธความสัมพันธ์นี้หรือยุติความสัมพันธ์นี้ มีแนวทางที่มนุษย์จะต้องดำเนินการ ดังนี้
การสื่อสารความเสี่ยงกับการสื่อสารในภาวะวิกฤต
คนส่วนใหญ่จะมีการสื่อสารความเสี่ยงอยู่เป็นประจำ โดยจะประเมินความเสี่ยง (risk assesement) อย่างอัตโนมัติ และมีความต้องการที่จะจัดการความเสี่ยง (risk management) มิให้ตนเองได้รับผลกระทบหรือได้รับอันตราย ที่กล่าวมานั้น บางคนไปทักถักทอว่าเป็นการสื่อสารในภาวะวิกฤต ซึ่งการสื่อสารในภาวะวิกฤตมีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าการสื่อสารความเสี่ยง
การมองอนาคตสาธารณภัย
สถานการณ์ของสาธารณภัยในยุคปัจจุบันซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใหม่ที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว ในขณะที่แนวความคิดระบบสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งระบบการศึกษายังคงได้รับอิทธิพลจากโลกในยุคศตวรรษที่ 20 ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์ อธิบาย คาดการณ์ ออกแบบ และสื่อสารอนาคต ที่จะอยู่ร่วมกับสาธารณภัยอย่างสมเหตุสมผล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของปัจเจกบุคคล องค์กร ชุมชน ประเทศ และมนุษยชาติ “คนที่อยู่ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป แต่ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม ก็ไม่ต่างกับ คนที่อยู่ภายใต้บริบทเดิม ทำแบบเดิมซ้ำ ๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่”
|
|
|