ins class="adsbygoogle" style="display:block; text-align:center;">
กะลาสาธารณภัยในประเทศไทยกะลาสาธารณภัยในประเทศไทย ภายใต้แรงกดดันจากความถี่และความรุนแรงของสาธารณภัย เหล่ารัฐราชการปรสิตด้านสาธารณภัย ได้ยึดถือประวัติศาสตร์แบบแผนการปกครองมาใช้ในการดำเนินงาน ไม่แยแสว่าระเบียบแบบแผนทางสังคมใหม่ๆ ของสังคมในปัจจุบันไม่อาจจะสอดคล้องกับแบบแผนดังกล่าวหรือไม่ ด้วยความสามารถในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อในประสิทธิผลและความต้องการจำเป็นทำให้ยังคงลอยหน้าลอยตาอย่างหนาๆ ที่เรียกว่าความชอบธรรม ความสมเหตุสมผลในการดำเนินงานขององค์กร ที่กล่าวมาเราเรียกว่า "กะลาสาธารณภัย"
แก้จนชนสาธารณภัยด้วยคนจนมีข้อจำกัดในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคมน้อยกว่าคนรวย และผมเองมโนว่าคนจนจะผลิต/ประกอบสร้างสาธารณภัยขึ้นน้อยกว่าคนรวย เนื่องด้วยข้อมูลที่เด่นชัด ๒ ประการ คือ 1.คนจนครอบครองพื้นที่ที่ถูกทำลายจากสภาพป่าตามธรรมชาติมากกว่าคนจน 2.คนรวยใช้ทรัพยากรต่างๆ มากกว่า/สิ้นเปลืองกว่าคนจน ซึ่งมรัพยากรต่างๆ จะต้องมีกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ทรัพยากรการผลิต ใช้พลังงานในการผลิต และการควบคุมการผลิตที่สะอาดปลอดภัยหละหลวมทำให้มีการปล่อยมลพิษจำนวนมาก
ทำไมถึงยังคงต้องประสบสาธารณภัยซ้ำซากอัตราส่วนการประกอบสร้างสาธารณภัย 1.ความพ่ายแพ้ของระบบนิเวศของธรรมชาติต่อระบบการพัฒนาของมนุษย์ ร้อยละ 68 2.ความสามารถในการพัฒนาของมนุษย์ ร้อยละ 32
การประกอบสร้างสาธารณภัยอุดมการณ์สาธารณภัย "โดยมากแล้วการประกอบสร้างสาธารณภัย ก็คือเรื่องเล่าที่มนุษย์เล่าให้ตัวเองฟัง และถ้าเรื่องเล่านั้นเป็นเรื่องโกหกหลอกลวง/เมินเฉย,รับเอาการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐราชการปรสิต มนุษย์ก็จะได้รับผลของพฤติการณ์นั้นในอนาคต ถ้าเรื่องเล่านั้นทำให้มนุษย์เผชิญหน้ากับความจริงอย้างเข้มแข็งอดทน มนุษย์จะปลดปล่อยประวัติศาสตร์ของตนให้บานสะพรั่งในอนาคต"
วิถีใหม่ด้านสาธารณภัยวิถีใหม่ เป็นคำที่รัฐราชการไทย ภายใต้การกำกับของ T้hink Tank ของรัฐบาลทหารเฒ่าที่ผลิตวาทกรรมออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้ เพราะแนวทางที่นำมาดำเนินการนั้น ช่างเป็นแนวทางที่ล้า่สมัย ภายใน Mind Set ของขุนนางในยุคกรุงศรีอยุธยา แต่กำลังเติบโต และสร้างความล้าหลังวให้กับประเทศชาติ
สาธารณภัยไม่เพียงพอไทยใช้จ่ายงบประมาณนับหลายหมื่นล้านบาท (ข้อมูลจากระบบประเมินผลแห่งชาติ : EMENSCR ของสภาพัฒน์) เฉพาะของหน่วยงานส่วนกลางด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็ประมาณปีละ 6,000 - 7,000 ล้านบาท (จากงบกระทรวงปีละสามแสนกว่าล้านบาทต่อปี) แต่ก็ไม่พร้อมดูแลสังคมไทยให้เป็นสังคมนิรภัยได้
สาธารณภัยต้องไม่อิกนอร์สาธารณภัยต้อง(ไม่)อิกนอร์
คำนำนายอีสานกับภัยพิบัติคำทำนายของชุมชนอีสานโบราณ นาจะเป็นบ้าน เกียจคร้านจะอดตาย ภูเขาจะย้าย แผ่นดินจะเดิน พระจะไม่เชื่อสมภาร พญามารจะสู้ผู้ครองเมือง เสือเหลืองจะปล้นบ้าน(คนที่มีใจดุร้ายเหมือนเสือจะสามารถใช้กฏเกณฑ์ปล้นประชาชนได้อย่างหน้าด้านๆแม้ในยามทุกข์กับภัยพิบัติก็ไม่เว้น) ห้วยหนองคลองจะแคบ แกลบจะมีราคา (ส่วนที่ไม่ใช่ความจำเป็นจะมีมูลค่าซื้อขายกันมากกว่า) หมูหมาคนตายไม่ต้องเป็นไข้(อุบัติเหตุอุบัติภัยมากขึ้น) โรคใหม่จะมากินคน ใต้ตีนมนจะออกเขา เสาจะกินเงิน มนุษย์เดินดินจะกินน้ำพญานาค คนทุกข์ยากจะแห่เข้าเมือง คนนุ่งผ้าเหลืองจะเอาเมีย คนจะเกิดเหลือน้อยลง สัตว์ป่าดงพงพีจะสูญพันธ์ คนคุยกันจะชักหาง ขุนนางจะขอทาน(คนในภาครัฐทำงานทำภารกิจใดๆ ไม่ได้เป็นไปเพื่อคนที่จ่ายเงินเลี้ยงดู) ชาวบ้านจะออกรบ ศพจะเกลื่อนเมือง
ขั้นตอนการทำงานสาธารณภัยของราชการพายุตามธรรมชาติได้มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นิดหน่อย ทุกวันนี้ก็จะเห็นผลกระทบที่มีความเสียหายมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะมนุษย์มีการให้ความหมายมูลค่าในพื้นที่ทางกายภาพครอบคลุมถึงร้อยละ 97 รัฐราชการที่มีหน่วยงานมากมายและกำลังพลกพลังทรัพยากรมากมายเขาทำอะไรกันอยู่ ดูจากที่เขาออกมาอบรมตามชุมชนต่างๆ ว่าพวกเขามีคุณค่าแค่ไหนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เท่าที่จดบันทึกได้จะมีรายละเอียด ดังนี้
|
|
|