การควบคุมดูแลวัด “โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” เผชิญกับโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่ย้อนแย้งและเต็มไปด้วย “กับดักทางอำนาจ” ทำให้แทบจะเรียกได้ว่าอยู่ไปก็สิ้นเปลืองเงินภาษี จำนวน สามประการ
กับดักประการที่หนึ่ง สำนักงานพระพุทธศาสนามีวัฒนธรรม “เกรงใจหรือเกรงบารมี” แทนที่จะ “กำกับตรวจสอบ” ซึ่งเจ้าอาวาสบางวัดมีบารมีสูงกว่าเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ “เช่น มีสายสัมพันธ์กับนักการเมือง ตำรวจ ทหาร หรือราชสำนัก จึงเกิด ภาวะย้อนแย้ง” “เจ้าหน้าที่ที่ควรเป็น ผู้ตรวจสอบ” กลับกลายเป็น ผู้แสดงความเคารพ” ผลที่เกิดขึ้น คือ: สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขาดความกล้าหาญเชิงสถาบัน ที่จะใช้อำนาจตรวจสอบอย่างเข้มงวด แล้วจะมีสำนักงานนี้ไว้สิ้นเปลืองภาษีทำไม
กับดักประการที่สอง สำนักงานพระพุทธศาสนาเป็นระบบราชการแนวดิ่ง ที่เน้นรายงานความเรียบร้อย แทนที่จะเน้นความจริง “เน้นรักษาวัฒนธรรมรายงานดีไว้ก่อน” ที่ฝังลึกในระบบราชการไทยทุกหน่วยงานและทุกระดับ
และประการสำคัญที่เป็นวัฒนธรรมที่งี่เง่าที่สุด คือ “เน้นรักษาความสงบเรียบร้อยทางศาสนา” ไม่ใช่ “เปิดโปงความไม่ชอบมาพากล”
“ถ้าพบความผิดปกติแล้วส่งต่อไปยัง ปอ-ปอ-ชอ.หรือ สอ-ตอ-งอ.
ก็เท่ากับประจานตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นคือ เจ้าหน้าที่จึงมีแนวโน้ม ละเลย ปล่อยผ่าน หรือหลีกเลี่ยง เรื่องละเอียดอ่อน “ส่งผลให้ระบบกำกับตรวจสอบกลายเป็นพิธีกรรมแบบเปลือกนอก” ไม่มีฟัน ไม่มีกรงเล็บ
กับดักประการที่สาม ไม่ต่อต้าน หรือรู้เห็นเป็นใจไปกับการสร้าง”สายสัมพันธ์เงา” หรือ “เครือข่ายอุปถัมภ์แบบแฝง” ของพระผู้ใหญ่กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานพระพุทธศาสนา อันเป็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ เช่น “การจัดสรรงบประมาณ” “การขอสนับสนุนโครงการพุทธศาสนา” “การแต่งตั้งโยกย้าย”
ส่งผลให้เกิดการขัดขวางการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ