วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

 

คอนกรีตมีคุณสมบัติรับแรงอัดได้ดีมาก แต่รับแรงดึงและแรงเฉือนได้ “แย่” แม้จะมีคุณสมบัติดีแค่ไหนก็ตาม แรงสั่นของแผ่นดินไหวจะทำให้เสา “ปาดข้าง” หรือ “เฉือนกัน” เป็นแรงที่มากระทำในแนวขนานกับหน้าตัดของโครงสร้าง ซึ่งคอนกรีตจะดีแค่ไหนก็รับแรงนี้ได้น้อยมาก หรือในกรณีคอนกรีตไม่ดี แต่เหล็กโครงสร้างดี ความเสียหายจากแผ่นดินไหวมักจะเป็นการแตกร้าว หรือพังทลายก็จะไม่เหมือนเต้าหู้

ตัวที่รับแรงเฉือนได้ดีคือ เหล็กหลัก และเหล็กปลอก” ซึ่งต้องวางถูกตำแหน่ง และมีขนาดตามมาตรฐาน  เหล็กปลอก แม้จะวางเหล็กปลอก “ผิดระยะ” หรือ “น้อยกว่าที่ควร” หรือไม่ได้มาตรฐาน

→ ผลที่ตามมาอาจเป็นแค่การ ร้าว, พังบางส่วน, หรือ การเสียหายเฉพาะโซน

→ อาคารมักจะ “ไม่ถล่มทั้งหลัง” เพราะยังมีเหล็กหลักจะไม่ทำให้อาคารถล่มทั้งอาคาร

ดังนั้น การที่อาคารถล่มทั้งหลังจากแผ่นดินไหว ตัวสำคัญอยู่ที่เหล็กหลักต้องได้มาตรฐาน  ในปัจจุบัน มีการก่อสร้างตึกให้มีจำนวนชั้นมากมาก แต่วงการก่อสร้างไทยยังใช้เหล็กแข็ง มาใช้เป็นเหล็กหลักของโครงสร้างอาคารสูง  เหล็กแข็ง เป็นเหล็กที่อัตราส่วนผสมภายในไม่ดี ไม่แน่น มีลักษณะแข็งภายนอกแต่ภายในแข็งบ้างไม่แข็งบ้าง   เหล็กหลักของโครงสร้างอาคารสูงจะต้องใช้เหล็กเหนียว ซึ่งมีอัตราส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันทั้งเส้น จะยืดและหดกลับได้ดีหรือเหนียว เมื่อมาใช้เป็นเหล็กหลักของโครงสร้างอาคารสูง อาคารสูงจะไหวได้เล็กน้อยโดยไม่ถล่ม

Search

@msjo.net

Twitter

https://www.youtube.com/channel/UCWQvQCFFyHZtznjgmYvVbfw