วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

https://www.youtube.com/shorts/M5N4Z-XUWFQ

พระรูปนี้กล่าวบิดเบือนพุทธธรรมเพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร มากกว่าการรักษาธรรมะ โดยมีการบิดเบือนอยู่ 5 ข้อ อีพีที่ผ่านมาพูดถึง ข้อที่หนึ่งและข้อที่สองไปแล้ว ดังนั้น สามข้อที่เหลือ มีข้อที่บิดเบือนพระธรรม ดังนี้

ข้อที่สาม เป็นการแสดงความลำเอียงต่อ “องค์กรสงฆ์” มากกว่า “พระธรรม” คำพูดว่า “อย่าซ้ำเติมเพราะเป็นการแชร์บาป” ชี้ให้เห็นว่า พระรูปนี้ใช้ “ความเมตตา” เป็นเครื่องมือปิดปากสังคม เพื่อรักษาภาพองค์กร มากกว่าการส่งเสริมให้พระภิกษุปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

ข้อที่สี่ เสนอให้ควบคุมสื่อเหมือนประเทศลาว = ขัดกับพุทธจริยา พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ปิดปากหรือควบคุมการวิพากษ์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ติเตียนภิกษุที่ทำผิดได้ หากทำด้วยเจตนาดี การอ้าง “ลาว” หรือประเทศปิดสื่อ จึงไม่ใช่แนวทางของพุทธศาสนา แต่เป็นแนวทางของรัฐอำนาจนิยมที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือสร้างความสงบปลอมๆ

ข้อที่ห้า อ้างเรื่อง “บาป” เพื่อบิดเบือนการตรวจสอบ การพูดว่า “การพูดถึงความผิดพระเป็นการเอาบาปมาใส่ตัว” คือการ ตีความคำว่า ‘บาป’ แบบโลกนิยม ไม่ใช่พุทธนิยม ในพระพุทธศาสนา “การเพ่งโทษด้วยปัญญา” ไม่ใช่บาป แต่เป็นการ เจริญสติ เจริญธรรม การนิ่งเฉยต่อการผิดศีลต่างหากที่เป็น “อาบัติปาราชิก” และเป็นบาปแท้

พระรูปนี้มิได้ยึดพระธรรมเป็นใหญ่ แต่ยึดภาพลักษณ์องค์กรเป็นหลัก การกล่าวเช่นนี้สะท้อนถึง แนวคิดที่ปกป้องความเสื่อมในคราบของเมตตา จีวรลุกเป็นไฟออกมาป้องความผิดขนาดนี้ คงได้ตำแหน่งพระราชาคณะมา จากการซื้อขายตำแหน่ง เหมือนกัน ถึงกล่าวโดยไม่เกรงกลัวต่อพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด

 

Search

@msjo.net

Twitter

https://www.youtube.com/channel/UCWQvQCFFyHZtznjgmYvVbfw