วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เราเคยได้ยินแต่เจ้าหน้าที่รัฐไล่ล่าจับกุมผู้บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนใหญ่ที่บุกรุกเข้าไปเพาะปลูกพืชสร้างที่อยู่อาศัยก็จะมีปัญหายือเยื้ออย่างมากในการดำเนินการ  แม้ในยุครัฐบาลเผด็จการมีอำนาจในมืออย่างเด็ดขาดก็ยังไม่สามารถทวงคืนผืนป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซานต้าตู่ทวงคืนได้แค่ร้อยละ 0.9  ฟ้องร้องนายทุนที่เป็นตัวการในการเข้าบุกรุกแต่ยกฟ้องทั้งหมด ไม่มีผู้บุกรุกที่เป็นนายทุนเป็นคนรวยติดคุกสักคน

จะมีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเด็ดขาดก็เฉพาะกับคนจน เข้าคุกเข้าตะรางหลายร้อยคน ถูกยึดที่ทำกิน บางรายโชคดีที่มีนักกฎหมายอาสาเข้าไปช่วยเหลือต่อสู้คดีความกับรัฐ รอดพ้นคุกรอดพ้นตารางไปได้บ้าง แต่ก็เฉพาะในประเด็นที่ว่ารัฐได้ประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนป่าอนุรักษ์หรืออุทยานแห่งชาติทับที่ทำกินของราษฎร

ในด้านภัยพิบัติ การจัดการภัยพิบัติที่ท้าทายกฎหมายและท้าทายการตื่นรู้ของประชาชนนั้นก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าที่กล่าวมาข้างต้น กฎหมายมีแต่เรื่องให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้ามาใช้อำนาจในเขตพื้นที่ในทรัพย์สินของประชาชนได้ ในหลายๆ กรณี การดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือคณะบุคคล แต่ความรับผิดชอบที่มีสภาพบังคับตามกฎหมายนั้น แทบจะไม่ปรากฎให้ประชาชนได้รับรู้ ทั้งนี้ ความรับผิดของรัฐนั้นพิจารณาได้ว่ามี 2 พฤติการณ์ของรัฐที่ปัจจุบันลอยนวลไร้ความรับผิด คือ

1.การกระทำที่ตำหนิได้ เช่น ความไม่เสมอภาคในการแบกรับภาระสาธารณะระหว่างประชาชนด้วยกันเอง(เช่นการเอาพื้นที่บางแห่งเป็นพื้นที่รับน้ำ/ระบายน้ำ ฯลฯ)  ความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ หรือความเสี่ยงที่จะได้รับภัยพิบัติจากการใช้อำนาจของรัฐ

2.การกระทำที่ไม่อาจตำหนิได้ เช่น ความไม่ชัดเจนในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนำไปสู่การปัดความรับผิดชอบในการตัดสินใจสั่งการ เช่น การจัดซื้อจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ (แบบชาติหน้าถึงมีโอกาสใช้ หรือใช้ก็ไม่เหมาะไม่มีประสิทธิภาพ แต่ซื้อหามาด้วยราคาแสนแพง ประชาชนต้องมานั่งจ่ายภาษีให้ซื้อ โดยคนที่ได้รับประโยชน์คือคนจัดซื้อและคนขาย หรืออาจมีคนได้ประโยชน์เพิ่มคือมีการจ้างงานของาครัฐเป็นพนักงานราชการ มีเบี้ยเลี้ยงเงินเดือน  แต่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อันใดก็มีให้เห็นหลายชนิดหลายประเทศ)  เช่นการทำแผนงานโครงการที่ประชาชนแทบจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ เลย  เป็นโครงการที่ลดความเปราะบางก็ยังพอคิดง่าเป็นการลงทุนด้านความปลอดภัยพิบัติของสังคมได้ แต่เนี่ยเป็นโครงการที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับหน่วยงานภาครัฐว่าทำงาน แต่ไม่เคยเหลือบตาดูผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อ๋อลืมไปมองอยู่แต่ว่าองค์กรของตนเองได้ประโยขน์เจริญรุ่งเรือง

ความรับผิดดังกล่าว ไม่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระเบียบแนวทางที่มีความเสมอภาคและเที่ยงธรรม ให้มีกฎหมายที่ทุกภาคส่วนดำเนินงานโดยยอมรับความรับผิดที่เกิดจากการดำเนินงานป้องกันภัยพิบัติ และให้มีการชดเชยเยียวยาอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางที่ควรจะกำหนดให้มีขึ้นในรูปกฎหมาย ได้แก่

1.ควรมีกฎหมายให้มีการจ่ายค่าชดเชยเช่นเดียวกับกรณีการเวนคืน นอกจากนี้ ควรให้มีกองทุนพิเศษขึ้น เพื่อนำเงินมาใช้ในการชดเชยค่าเสียหายจากการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดการภัยพิบัติของรัฐ

2.ลำพัง พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ไม่สามารถปรับช้กับทุกประเภทภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะต้องมีการบีญญัติกฎหมายเฉพาะมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการลดความเปราะบางของคนของพื้นที่ ไม่ใช่เพิ่มการเตรียมพร้อมของรัฐโดยการจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ อันจะทำให้ลดการกระทำที่ไม่อาจตำหนิได้ของรัฐลงบ้าง (อ้างความสมเหตุสมผลในการจัดหา จนในปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์เครื่องมืออุปกรณ์กู้ภัย กระจายทั่วประเทศ จำนวน 18 แห่ง  แต่การชี้ให้เห็นความผันแปรของความเปราะบางอย่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกลับทำได้แค่นำข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยามาจัดทำสารสนเทศเผยแพร่ นอกนั้นก็นั่งเฝ้าเครื่องตรวจจับคลื่นสึนามิ (เอาเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่อ ก.พ.ร.ดัวยนะคับ) ที่กำลังวางแผนจัดหาจัดซื้อในรอบต่อไปอีกหลายหมื่นล้านบาท

3.ควรมีกฎหมายเกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือเพื่อมุ่งลดความเปราะบางในสังคม ซึ่งในปัจจุบันการสร้างเครือข่ายก็เพื่อให้คนในสังคมมาเป็นกำลังเสริมกับหน่วยงานของรัฐ เช่นแผนงานโครงการการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน (CBDRM) ก็เป็นเพียงนำคนในสังคมมาเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่แผนงานโครงการเท่านั้น

————–xxxxxxxxxxxx——————