วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การจำแนกประเภทภัยพิบัติ  จำแนก ได้  2 กลุ่มประเภท ได้แก่

1.จำแนกตามระยะเวลาการบ่มเพาะปัจจัยเชิงสาเหตุ

2.จำแนกตามปัจจัยเชิงสาเหตุ

การจำแนกประเภทภัยพิบัติ ตามระยะเวลาการบ่มเพาะปัจจัยเชิงสาเหตุ  สามารถจำแนกได้ ดังนี้

1.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดกะทันหัน เช่น น้ำท่วม พายุหมุนเขตร้อน แผ่นดินไหว การพังทลายของฝั่งแม่น้ำ ดินถล่ม

2.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เช่น  ภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3.เหตการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น อุบติเหตุใุหญ่ สงครามกลางเมือง  ระเบิดนิวเคลียร์  สงคราม การโจมตีของผู้ก่อการร้าย

4.เหตการณ์ที่เกิดขึ้นช้าๆ เช่น การแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์   สารพิษที่แพร่ในแหล่งน้ำ การเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบต่อกล่มุทางสังคมเฉพาะ อันตรายจากการทํางาน

การจำแนกประเภทภัยพิบัติ ตามปัจจัยเชิงสาเหตุ สามารถจำแนกได้ ดังนี้

1.ภัยพิบัติทาง อุตนุิยมวิทยา

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้ เช่น  พายุลูกเห็บ ฟ้าผ่า  คลื่นความร้อน/เย็นจัด (ภัยหนาว) พายุไซโคลน พายุทอร์นาโด  โลกร้อน (โลกรวน/การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

2. ภัยพิบัติทางอุทกวิทยา

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้ เช่น น้ำท่วม  ภัยแล้ง  ฯลฯ

3.ภัยพิบัติทางด้านธรณีวิทยา

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้  เช่น แผ่นดินไหว ภเูขาไฟระเบิด  สึนามิ แผ่นดินถล่ม หิมะถล่ม การพังทลายของดิน โคลนถล่ม/ไหล ฯลฯ

4.ภัยพิบัติทางชีวภาพ

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้  เช่น  โรคระบาดต่างๆ  สงครามชีวภาพ

5.ภัยพิบัติทางนวัตกรรมของมนุษย์

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้  เช่น การรั่วไหลของก๊าซอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ และเป็นอันตราย  รังสีนิวเคลียร์  รังสีธาตุกัมมันตรังสี  อัคคีภัย  อุบัติเหตุทางถนนและการสัญจรอื่นๆ

6.ภัยพิบัติทางด้านสังคม

ภัยพิบัติภายใต้หมวดหมู่นี้  เช่น  ความขัดแย้งทางสังคม ทางชาติพันธ์ ศาสนา วรรณะ เป็นต้น

 

 

Search