วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การทบทวนสำนึกเชิงสังคมที่มีต่อภัยพิบัติ

ในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยผ่านประสบการณ์ภัยพิบัติใหญ่ ๆ 2 เหตุการณ์ คือ หนึ่งอุทกภันในปี 2554 และการระบาดของไวรัสโควิด 19  แต่ก็เหมือนกับเหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าวจะไม่สามารถสร้าง  แต่กลับสร้างแบบเรียนมหาโจรให้กับชนชั้นนำได้ใช้เป็นแบบเรียนของตนเองและทายาทเพื่อกอบโกยสร้างความทุกข์ยากให้กับคนไทย และสถาปนาสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงยิ่งขึ้น  แบบเรียนมหาโจรที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ

    1. นำเงินภาษีมาจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้แล้วสามารถแทงชำรุดสูญหายในระหว่างเกิดภัยพิบัติได้ (กรณีภัยพิบัติ)  ในกรณีโรคระบาดก็จะเป็นเอาเงินภาษีมาจัดซื้อจัดจ้างยาเวชภัณฑ์เพียงให้เกิดอุปทานในใจประชาชน ไม่มีผลต่อร่างกายเท่าใดนัก   แม้จะสร้างความผิดแผก/แตกแยก และความยากลำบากให้ประชาชน แต่ก็ยังตะบี้ตะบันใช้งบประมาณันอย่างสนุก

2. กล่าวโทษหรือชี้นิ้วไปที่ประชาชน พร้อมสำทับว่าเหลวไหล ไม่รู้จักรับผิดชอบ  ไม่รู้จักการให้ความร่วมมือให้วิกฤตผ่านพ้นไป

อีกนานเท่าใด ประชาชนถึงจะมีสำนึกเชิงสังคมต่อภัยพิบัติ มากกว่าที่จะมีสำนึกเชิงสังคมต่อชนชั้นปครอง โดยต้องสถาปนาสำนึกเชิงสังคมให้เกิดกับประชาชนไทย

สำนึกเชิงสังคมที่มีต่อภัยพิบัตินั้นสำคัญมากเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำนึกเชิงสังคมนี้จะช่วยให้ผู้คนมีการรับรู้ถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติและการร่วมมือกันในการจัดการกับภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/ecddf7b0f2cf39b8611ede93ce2aa55e

สำนึกเชิงสังคมที่มีต่อภัยพิบัติสามารถช่วยให้ผู้คนมีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านวัตถุมีค่าและได้รับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ผู้คนมีสภาวะที่แข็งแรงกับภัยพิบัติในอนาคต โดยการเตรียมตัวก่อนการเกิดภัยพิบัติอย่างรวดเร็วและมีความสามารถในการตัดสินใจและจัดการเร็วในสถานการณ์ฉุกเฉิน http://dep.go.th/uploads/Downloads.pdf

การร่วมมือกันในการจัดการกับภัยพิบัติยังเป็นสำนึกเชิงสังคมที่สำคัญอีกด้วย เนื่องจากภัยพิบัติมักจะมีผลกระทบกับชุมชนใหญ่ การร่วมมือกันของสมาชิกในชุมชนสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับภัยพิบัติได้ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/download/30977/26716/68405

Proudly powered by WordPress