วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ประเทศไทย ผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซธรรมชาติร้อยละ 60 ถ่านหินร้อยละ 22 พลังน้ำจากลาวร้อยละ 7 และพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20  แม้ว่าก๊าซธรรมชาติจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับถ่านหินหรือน้ำมัน แต่ก็ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเมื่อถูกเผาไหม้ นอกจากนี้ การสกัดและขนส่งก๊าซธรรมชาติยังสามารถปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพสูงต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก

เทคโนโลยีโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในปัจจุบันที่ไม่ปล่อยก๊าซที่เป็นต้นเหตุปรากฏการณ์เรือนกระจก มี 3 เทคโนโลยี ได้แก่

1.ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชั่นเป็นเชื้อเพลิง (ในประเทศไทยไม่มีการผลิต) แม้ไม่มีผลกระทบให้ปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่ของเสียที่เหลือจากการใช้แร่กัมมันตภาพรังสียังอันตรายและจัดเก็บยาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง

2.กำลังพัฒนาผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นเชื้อเพลิง (เหมือนกับการสร้างพลังงานของดวงอาทิตย์) แร่ธาตุที่เป็นวัสดุหาได้ง่าย  เช่น ไฮโดเจน (สามารถสกัดได้ง่าย แม้จากนำ้ทะเลก็ยังสามารถสกัดได้ธาตุไฮโดรเจน) ของเสียจากการปฏิกิริยา มีอันตรายน้อยเทียบเท่าขยะกัมมันตรังสีจากโรงพยาบาล

3.ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนใต้พิภพ

4.ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากลมนอกชายฝั่งทะเล

 

Search