ในแต่ละปีประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านเฉลี่ยปีละ 2-3 ลูก โดยพื้นที่ที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่าน จะมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง พายุลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน การเตรียมความพร้อม และข้อพึงปฏิบัติ มีดังนี้
ก่อนเกิดภัย
1. หมั่นติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศแจ้งเตือนภัยอย่างสมำ่เสมอ พร้อมจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค
2.ตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง หากพบว่ามีต้นไม้ ป้ายโฆษณาและเสาไฟฟ้าอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการหักโค่น ให้แจ้งหน่วยงานที่เกียวข้องดำเนินการ
ขณะเกิดภัย
1. ให้หลบในอาคารบ้านเรือนที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตูหน้าต่างอย่างแน่นหนา รวมทั้งห้ามอกไปอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง เพราะอาจได้รับอันตรายจากกิ่งไม่ สังกะสี และกระเบื้องที่ปลิวมาตามลม
2.สังเกตสัญญาณความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากน้ำในแม่น้ำเปลี่ยนแปลงเป็นสีเดียวกันสีดินบนภูเขา ระดับน้ำในลำห้วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีต้นไม้ขนาดเล็กไหลมากับน้ำ สัตว์ป่าแตกตื่น ให้อพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัยเพราะอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม
3. ในขณะที่เกิดน้ำป่าไหลหลากหรือดินถล่มให้หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางที่เป็นแนวการไหลของดินหรือมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก เพราะอาจถูกพัดจมน้ำได้ ห้ามว่ายน้ำหนีโดยเด็ดขาด เพราะอาจกระแทกกับซากต้นไม้หรือหินที่ไหลมาตามน้ำ
4. ผู้ที่อาศัยอย่บริเวณชายฝั่งทะเล ให้อพยพไปอยู่ในพื้นที่ห่างจากชายฝั่ง ไม่นำเรือออกจากฝั่ง โดยเฉพาะเรือขนาดเล็ก เพราะคลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง อาจทำให้เรือล่มได้
หลังเกิดภัย
1. ไม่เข้าใกล้บริเวณที่มีเสาไฟฟ้าล้มหรือเสาไฟฟ้าขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วไหล หากมีต้นไม้หักโค่นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาดให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซ่อมแซมโดยด่วน
2. ห้ามเข้าใกล้บริเวณที่เกิดดินโคลนถล่มหรือบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เพื่อป้องกันอันตรายจากการพังทลายซ้ำ
—————-********—————–