การหลอกลวงสังคมสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ โดยมี เครื่องมือ หรือ เทคนิค ต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อ บิดเบือนความจริง และ ชี้นำความคิดของประชาชน ซึ่งมักถูกใช้โดย บุคคล, กลุ่มผลประโยชน์, หรืออำนาจบางกลุ่ม เพื่อควบคุมทิศทางของกระแสสังคม
กรณีคดีการฆาตกรรมแตงโม ดาราสาวกลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีผู้สร้าง Content เผยแพร่ในสื่อโซเซียลจำนวนมาก หนึ่งในนั้นมีคนใช้ชื่อ Alize ที่เริ่มต้นแบบคนทั่วไปที่ต้องการทำคอนเท็นต์ให้เป็นที่นิยม จึงถ่ายทำและตัดต่อคลิปที่โหลดมาจากแหล่งอื่น ต่อมา ด้วยความผิดปกติทางจิตของ อลิส ที่ประกอบด้วย
- หนึ่ง อาการหลงตัวเองสูงต้องการบทบาท ทำให้มักจะชอบสร้างเรื่องให้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สนใจคนอื่นจะได้รับผลกระทบอย่างใด ไม่สนใจว่าคดีจะเดินไปทางไหน หลงระเริงไปกับสังคมไทยที่เสพดราม่า มากกว่าข้อเท็จจริง
- สอง มีลักษณะของบุคลิกกะภาพผิดปกติแบบฮิสทีเรีย พยายามทำให้ตัวเองดูเป็นฝ่ายถูก แม้จะทำผิด เมื่อถูกจับโกหกได้ แทนที่จะยอมรับความผิด กลับหันไปโจมตีคนที่เปิดโปงตนเอง พยายามทำให้คนสงสัยว่าการจับผิดเขานั้นเป็นสิ่งที่ผิด ทั้งที่ความจริงคือ เขานั้นป็นคนโกหกก่อน
- สาม เดินหน้าลดทอนความรับผิดชอบของตัวเอง พยายามทำให้ตัวเองเป็น “เหยื่อของการถูกจับผิด”