วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

วาตภัยเป็นภัยที่เกิดจากมีลมพัดแรงทั้งในบนบก และในทะเล เป็นภัยที่พ่วงมากจาก 3 สาเหตุ คือ

1.จากการมีพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น(น้อยกว่า 63 กม./ชม.) , โซนร้อน (63-118 กม./ชม. ). ไต้ฝุ่น (ตั้งแต่ 118 กม./ชม.))

2.จากการมีพายุฤดูร้อน

3.จากการมีลมงวงช้าง

4.จากลมมรสุมที่มีลมแรง (ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ , ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)

พายุหมุนเขตร้อน

1.พื้นที่ต้นกำเนิด

เริ่มต้นที่มหาสมุทร 2 แห่ง คือมหาสมุทรแปซิฟิก (เกิดที่ตอนเหนือจะเรียกพายุไต่ฝุ่น เกิดที่ตอนใต้จะเรียกพายุไซโคลน) และมหาสมุทนอินเดีย โดยจะมีการก่อตัวของไอน้ำ 2- 4 วัน จนไอน้ำในบรรยากาศสูงประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 100 – 300 กม. ก็จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ฝั่งตามแรงลมจากตะวันออกสู่ตะวันตก หมุนวนตามเข็มนาฬิกา ถ้าอยู่ในพื้นที่ใต้เส้นศูนย์สูตร  หมุนทวนเข็มนาฬิกาถ้าอยู่ในพื้นที่เหนือเส้นศูนย์สูตร

2.ความเสียหาย

นอกจากจะมีความเสียหายเนื่องมาจากแรงลมแล้ว (อาคารบ้านเรือนสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งเรือคว่ำ/ชนหิน/เกยหิน, คลื่นทะเลสูงซัดฝั่ง (ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)  จะมีความเสียหายจากอุทกภัยและโคลนถล่ม

พายุฤดูร้อน

1.พื้นที่เกิด

เกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม ในช่วงขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนและชื้น เมื่อมีอากาศเย็นจากบริเวณความกดอากาศสูงซึ่งมีลักษณะจมตัวลง ทำให้มวลอากาศร้อนในพื้นที่ประเทศไทยก่อนหน้าที่ความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมายกตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีอุณหภูมิยอดเมฆต่ำกว่า –60 ถึง 80 องศาเซลเซียส จึงทำให้เกิดลูกเห็บตกได้ เกิดพายุพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ (Lightning) ฟ้าร้อง (Thunder) และฟ้าผ่า

2. ความเสียหาย

2.1 ลมกระโชกแรง ลมแรง ฯลฯ ทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ อาคาร บ้านเรือน

2.2 ฝน ก่อให้เกิดน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่ม ที่ต่ำและเชิงเขา

2.3 ลูกเห็บทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง สัตว์เลี้ยง สวนไร่ พืชผลและอื่นๆ

2.4 ฟ้าผ่า ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์เลี้ยง สิ่งก่อสร้างและอื่นๆ

ลมงวงช้าง

1.ลักษณะและการเกิด

มีลักษณะเป็นลำเหมือนงวงช้างยื่นออกมาจากฐานเมฆ เห็นเป็นเมฆลักษณะเป็นลำพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ดูคล้ายกับมีงวงหรือท่อหรือปล่องยื่นออกมา เนื่องจากมีการดูดเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปที่ฐานด้วยพลังมหาศาล และถ้ามีการหมุนวนจะหมุนและบิดเป็นเกลียว

2. ความเสียหาย

ลมกระโชกแรง ลมแรง ฯลฯ ทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ อาคาร บ้านเรือน

ลมมรสุม

1. ลักษณะและการเกิด

เป็นลมประจำฤดู เป็นลมที่มีทิศแน่นอนเป็นประจำและสม่ำเสมอ เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำ  ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุดได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย

ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

1.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

เกิดขึ้นระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย เมื่อมีความกดอากาศสูงขึ้นเหนือมหาสมุทรทำให้เกิดลมขึ้น ถ้าหากลมพัดออกเส้นศูนย์สูตรเราจะเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร

1.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเกิดขึ้นจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม

2. ความเสียหาย

2.1 ลมกระโชกแรง ลมแรง ฯลฯ ทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ อาคาร บ้านเรือน

2.2 ฝน ก่อให้เกิดน้ำท่วม และน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่ม ที่ต่ำและเชิงเขา

————————////////////////////—————————-

Search