“ไม่ยุบสภา” แล้วถูกปลุกอารมณ์ให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องเลวร้าย ทั้งที่ ตามหลักรัฐศาสตร์–รัฐธรรมนูญ การไม่ยุบสภาโดยไม่จำเป็น คือ กลไกปกติของรัฐสภาที่ออกแบบมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ประชาชน โดยเฉพาะในเชิง เศรษฐกิจ–การเมือง–ความต่อเนื่องของรัฐ
1️⃣ ไม่เสียงบประมาณจัดเลือกตั้งซ้ำซ้อน การจัดการเลือกตั้งระดับชาติ ใช้งบประมาณขั้นต่ำ 5,000–7,000 ล้านบาท ต่อครั้ง เงินก้อนนี้ คือ ภาษีประชาชน ที่ควรถูกใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตจริง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ถนน หรือช่วยบรรเทาค่าครองชีพ
2️⃣ รัฐไม่หยุดชะงัก–เศรษฐกิจเดินต่อได้ ถ้ายุบสภา → จะมี รัฐบาลรักษาการ → ซึ่งอำนาจเต็ม ๆ จะถูก “ล็อค” ไม่สามารถอนุมัติโครงการใหม่ ไม่สามารถออกมาตรการเร่งด่วนได้เต็มที่ รัฐบาลก็จะมุ่งหาเสียงหาเลือกตั้งเป็นหลัก เข้ามาทำงานจริงจังปีสองปีก็เลือกตั้งใหม่อีกแล้ว
3️⃣ ยุบสภาไม่ใช่ทางออกของปัญหา ถ้านายกฯ มีปัญหา → กระบวนการตรวจสอบใช้ ศาลรัฐธรรมนูญ–กรรมาธิการสภา–กลไกตรวจสอบ → ไม่จำเป็นต้อง ล้างสภา ทั้งหลัง
เพราะการเลือกตั้งใหม่ไม่ได้รับประกันว่าจะได้รัฐบาลใหม่จริง ระบบเดิมอาจได้กลับมาเหมือนเดิม
4️⃣ ความต่อเนื่องของนโยบายที่ประชาชนเลือกไว้ ถ้ายุบสภาบ่อยเพราะการเมืองภายใน → จะทำให้โครงการ–นโยบายที่ประชาชนเลือกไว้ไม่เดินหน้า → ชาวบ้านเสียโอกาส
5️⃣ ลดความวุ่นวายทางการเมือง–สังคม การยุบสภามักมาพร้อม ความวุ่นวาย เช่น การชุมนุม การแตกขั้ว → สังคมแตกแยก เศรษฐกิจไม่มั่นคง → กระทบภาพลักษณ์ประเทศและทุนต่างชาติ
ทำไมถึงมีการยุบสภา เพราะคนถืออำนาจในการยุบสภา เห็นว่าพรรคตัวเองจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอีก หากให้มีการเลือกตั้งในช่วงนี้