ขั้นตอนในการการเสริมสร้างความซื่อสัตย์และสุจริตในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ความซื่อสัตย์และสุจริตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (และไม่ใช่เน้นหนักไปที่การไม่รับเงินทอนในการจัดซื้อจัดจ้างประเด็นเดียว) โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดภัยพิบัติธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ ดังนั้น การเสริมสร้างความซื่อสัตย์และสุจริตในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสามารถทำได้โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยพิบัติ: การเตรียมความพร้อมในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยมีการจัดทำแผนการจัดการภัยพิบัติ การสอนและฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนและเจ้าหน้าที่ การตรวจสอบและปรับปรุงระบบการแจ้งเตือน รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการรับมือกับภัยพิบัติ
- การบริหารจัดการสถานการณ์ในการเกิดภัยพิบัติ: การบริหารจัดการสถานการณ์ในการเกิดภัยพิบัติต้องเน้นความเป็นธรรม ซื่อสัตย์และปฏิบัติตามหลักการและกฎหมาย โดยมีการกำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายหรือการประพฤติมิชอบ
หลักการของความซื่อสัตย์สุจริตในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย
- สุจริตใจในการกำหนดนโยบายหรือแผนงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ไม่เอื้อประโยชน์ต่อส่วนใดส่วนหนึ่ง ภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง
- ปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน อย่างเต็มกำลังความสามารถ ใช้ศักยภาพเพื่อให้เกืดผลสัมฤทธิ์ ด้วยมุ่งมั่น ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด
- ประเมินผลการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา สามารถยอมรับข้อผิดพลาด จุดอ่อน ข้อด้อยในการปฏิบัติงาน และมีการปรับปรุงแก้ไขให้การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบรรลุเป้าหมาย