ความมืดมนและบิดเบี้ยวในการรับมือภัยพิบัติเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นและมีผู้คนไม่สามารถเข้าใจหรือจัดการกับสถานการณ์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหลายวิธี เช่น
- ขาดความรู้และความเข้าใจ: หลายคนอาจไม่มีความรู้หรือเข้าใจเรื่องภัยพิบัติในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
- สภาวะความเดือดร้อน: เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ผู้คนอาจมีอารมณ์ที่ไม่สมดุล และทำให้พวกเขาไม่สามารถคิดหรือปฏิบัติตามวิธีการรับมือภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง
- การสื่อสารไม่ดี: การสื่อสารที่ไม่ดีสามารถทำให้ผู้คนไม่สามารถรับรู้ข่าวสารหรือคำแนะนำในการรับมือภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำให้ผู้คนไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
- การมีแผนฉุกเฉินไม่เพียงพอ: หากไม่มีแผนฉุกเฉินที่เพียงพอ ผู้คนอาจไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติ ทำให้พวกเขาไม่สามารถรับมือภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประชาชนทั่วไป น่าจะมีการรับรู้ว่าประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยพิบัติบ่อยครั้ง ถ้าจะดูจากการรับรู้ของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็จะมีการรายงานพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติทุกเดือน และคนไทยก็จะปล่อยให้มหาอุทกภัยในปี 2554 เลือนหายไป ทั้ง ๆ ที่ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายครั้งนี้สูงถึง 1,425 ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก (World Bank, 2012)
ความมืดมน
การลืมเลือนนั้นก่อให้เกิดการผลิตซ้ำภัยพิบัติขึ้น โดยที่ประชาชนต้องสูญเสียผลผลิตหยาดเหงื่อแรงงานไปกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปีละหลายหมื่นล้านบาทที่เป็นงานรูทีนแต่ไร้คุณค่า (หน่วยงานกลางปีละ 6-7 พันล้านบาท (แฝงอยู่ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ อีกหลายหมื่นล้าน เช่น การปลูกป่าที่ไม่มีการปลูกจริง การขุดลอก การป้องกันตลิ่ง) หน่วยงานระดับท้องถื่นปีละหลายแสนล้าน เป็นความมืดมนที่จะยั่งยืนต่อไป ส่งต่อความมืดมนและภาระที่หนักอึ้งให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
ความบิดเบี้ยว
แนวคิดภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ต้องมุ่งเน้นการเป็น THINK TANK ให้กับสังคมกับส่วนที่เป็นการอำนวยการพัฒนาให้กับสังคม ซึ่งจะเป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่น ที่จะต้องเข้าไปปฏิบัติการในห้วงขณะเกิดภัยพิบัติ และฟื้นฟูหลังจากภัยพิบัติผ่านไปแล้ว ทั้งนี้การปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องได้รับการสนับสนุนจากส่วนที่เป็น THINK TANK (ปัจจุบันได้บิดเบี้ยวเข้ามาปฏิบัติการซ้ำซ้อนกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น ทั้ารปฏิบัติและการเข้ามาควบคุมบังคับบัญชา) ที่จำเป็นต้องจัดทำฐานข้อมูลบ่งชี้และติดตามขีดความสามารถที่แท้จริงของชุมชนเมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ต้องคอย MONITOR เหมือนกับกรมอุตุนิยมวิทยาที่คอยจับตาสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่คอยเอาข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยามาโพนทะนาซ้ำไปซ้ำมาแล้วจบไปวัน ๆ ทั้งที่หน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีอัตรากำลังมากกว่ากรมอุตุนิยมวิทยาถึง 3 เท่าตัว มีอัตราชำนาญารพิเศษ อัตราเชี่ยวชาญ อัตราอำนวยการระดับสูงมากว่าถึง 4 เท่าตัว แต่ไม่มีความสามารถในการ MONITOR บ่งชี้และติดตามขีดความสามารถที่แท้จริงของชุมชน ปล่อยให้เป็นไปตามยถกรรม เมื่อประสบภัยพิบัติเดี๋ยวจะแสดงเป็นพระเอกเข้าไปช่วยเหลือแข่งกับพระเอกตัวจริงเช่นบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ อย่างนั้นหรือ
บทสรุป
เราจะส่งต่อสังคมที่มืดมนและบิดเบี้ยวอย่างที่เป็นอยู่ให้ลูกให้หลานอย่างนั้นหรือ