จากข่าวพรรคการเมืองหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากประชาชนคนไทยได้ออกมาเสนอ 10 ประเด็นรับผลกระทบจากพายุ “โนรู” ที่เข้าสู่ภาคอีสาน ภาคกลางและภาคเหนือของไทยปลายเดือนกันยายน 2565 ถึงต้นเดือนตุลาคม 2565 https://prachatai.com/journal/2022/09/100734 ทำให้เห็นได้ว่าในสถานการณ์น้ำท่วม มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่นๆ อย่างชัดเจนคือ ความร่วมมือกันอย่างซับซ้อน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ประเสริฐของมนุษย์ โดยที่ในระดับปัจเจกมนุษย์และสัตว์อื่นๆ จะมีทักษะความสามารถอยู่รอดในสภาวะน้ำท่วมได้ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ที่มีความแตกต่างชัดเจน คือความแตกต่างในระดับกลุ่ม ซึ่งมนุษย์ได้พัฒนาให้ระดับกลุ่มมีหลายชั้นทับซ้อนกัน ประมาณ 10-12 ชั้นหรือมากว่านี้ตามแต่ละพื้นที่และตามแต่ละวัฒนธรรม
สำหรับสังคมไทย ลักษณะดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือเวียนมาให้สังคมไทยได้เรียนรู้ แต่กลับพายเรืออยู่ในอ่างหรือประสบกับหายนะแบบเดิมๆ ซ้ำซาก ถ้ามองในมุมมองความร่วมมือกัน จะพบปัญหาสำคัญที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อความซ้ำซาก คือ ความร่วมมือกันนั้นขาดความยืดหยุ่น
ลักษณะความยืดหยุ่นมีหลักการพิจารณาด้วย 3 ส่วนสำคัญ :
1) มีความยืดหยุ่นในการต้านทาน สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายได้ดีเพียงใดในขณะที่ยังคงรักษาฟังก์ชันหลักหรือความแข็งแกร่งไว้ แนวคิดนี้มักจะนำไปใช้ในสาขาต่างๆ เช่น วัสดุศาสตร์ วิศวกรรม และแม้แต่ในเชิงเปรียบเทียบในแง่ของความยืดหยุ่นส่วนบุคคลหรือองค์กร
2) มีความยืดหยุ่นในการฟื้นตัวเองได้เร็วและถูกวิธี เพื่อให้ตัวเองพร้อมที่จะกลับไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งอย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่า “Resilience mindset” การมีจิตวิญญาณที่แข็งแกร่งและสามารถเผชิญกับความท้าทาย ภาวะสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยไม่เสียกำลังใจหรือกลับร้ายงานจากสิ่งที่เกิดขึ้น การมี resilient mindset ช่วยให้คนสามารถทำความเข้าใจและจัดการกับความล้มเหลว ความผิดหวัง และความไม่แน่นอนในชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
3) มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว สถานการณ์น้ำท่วม เราจำเป็นต้องทนต้านทานน้ำท่วม และจำเป็นต้องฟื้นฟูตัวเองภายหลังน้ำท่วมผ่านพ้นไป ซึ่งเป็นการฝ่าฟันในช่วงสั้นๆหรือช่วงวิกฤต ส่วนในระยะยาวนั้นจะค้องดำเนินการปรับตัว ส่วนใหญ่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมมักจะละเลย ไม่ใส่ใจที่จะดำเนินการ ซึ่งการมีพลวัตด้านการปรับตัว ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบการปรับตัว ดังนี้ (ด้านกายภาพจะใช้ระยะยาวนานมาก ถ้านับช่วงชีวิตมนุษย์ก็จะใช้เวลาหลายสิบช่วงชีวิต ระบบนิเวศเชิงกายภายภาพถึงจะมีการแปลงตัวเองได้ แต่มนุษย์จะมีศักยภาพในการแปลงระบบนิเวศทางสังคม เพียงแค่หนึ่งช่วงชีวิต(น้อยกว่า 60-70 ปี))
-
- จะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิธีการที่ตายตัว(ด้อยศักยภาพ)ของรัฐราชการปรสิต ไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ภายใน 5-6 ชั่วโมงเพื่อรับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐราชการปรสิตในปัจจุบันต้องใช้เวลา 20-24 ชั่วโมง ถึงจะสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์/วิธีการทำงานใหม่ได้
2. เอาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือประสบการณ์ร่วมกันสร้างเป็นเครือข่ายให้ได้แนวทางใดแนวทางหนึ่ง อันจะทำให้เกิดมองเห็น การแก้ไขปัญหาในระยะยาว ครอบคลุมพื้นที่ตลอดลุ่มน้ำ จะรอให้รัฐราชการปรสิตมีเมตตานั้นเป็นไปได้ยาก เพราะรัฐราชการปรสิตต้องขับเคลื่อนตามพลังของกลุ่มผู้มีอิทธิพลของรัฐราชการปรสิต คนในพื้นที่น้ำท่วมหากไม่มีเครือข่ายตลอดลุ่มน้ำ ต่างคนก็สร้างแรงขับของตนเอง และต่างก็มองกันไปคนละทิศคนละทางก็ย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทางออกที่มีประสิทธิภาพของปัญหาคือ การรวมกลุ่มที่ซับซ้อน หลากหลาย ให้เป็นเครือข่ายที่มองเห็นแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาระยะยาว
3. จากข้อ 2 การมองเห็นทางออกนั้น จะต้องพัฒนาขึ้นเป็นความจริงใหม่ ซึ่งมีชุดความจริงใหม่ 2 ชุดใหญ่ คือ
-
-
- ชุดที่หนึ่งการสถาปนาสิ่งสมมติเดียวกันขึ้น เช่น วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ระเบียบ แบบแผน สิทธิมนุษยชนในพื้นที่เฉพาะลุ่มน้ำขึ้น ให้ยึดถือปฏิบัติกันทั่วลุ่มน้ำ
- ชุดที่สองการบังคับบัญชารัฐราชการปรสิตให้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการด้านกายภาพในลุ่มน้ำ
-