วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การพัฒนาระบบความปลอดภัยหรือสุขภาวะ จำเป็นจะต้องใช้จินตนาการหรือใช้สถานการณ์สมมติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบ ในการหาความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหรือสิ่งที่มุ่งหวังต้องการจะเป็นอย่างไรในอนาคตกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน

ก.สภาพความต้องการในอนาคตเป็นอย่างไร หรือในอนาคตเราจะเผชิญสถานการณ์อันเลวร้ายอย่างไรบ้างให้สูญเสียน้อยที่สุด

ข.สภาพความเป็นจริงในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ความแตกต่างรรหว่างข้อ ก. กับข้อ ข. เป็นความกว้าง ความแคบของความเสี่ยงภัยพิบัติ ที่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติเพื่อลดช่องว่าง

ให้เข้าใกล้กับความฝัน หรือความพร้อมที่จะเผชิญสถานการณ์

แนวทางลดช่องว่างต่อไปนี้ เป็นแนวทางกว้างๆ ที่มีประสิทธิภาพในการลดช่องว่าง

1.ภาครัฐดำเนินนโยบาย หรือกลยุทธ์ที่เหมาะสม

2.การพัฒนาสำนึกหรือวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เด็กและเยาวชนอย่างเป็นระบบ

3.ใช้ระบบกลไกตลาด ส่งเสริมการลดช่องว่าง

4.พัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยบนพื้นฐานการยอมรับความแตกต่าง

5.พัฒนาระบบการจัดการภัยพิบัติในแนวคิด “พหุเอกนิยม”

แต่สำหรับประเทศไทย ในปัจจุบัน ได้นำแนวทาง”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้โดยกำหนดไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 แม้ว่าจะเป็นแนวทางที่ดี แต่จากที่กล่าวมาว่าการพัฒนาระบบความปลอดภัยหรือสุขภาวะ จะต้องใช้จินตนาการที่เกินขีดของความพอเพียงพอสมควร ถึงจะดึงศักยภาพสูงสุดออกจากสังคมได้

——————————————————–666666666666666————————————————————-