วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

จากประสบการณ์ผู้เขียน พบการเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ใน 3 พื้นที่ คือ

1.พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดกลางถึงขนาดใหญ่

2.พื้นที่ชุมชนเมืองขนาดเล็กถึงขนาดปานกลาง

3.พื้นที่ชุมชนชนบท

ทั้ง 3 พื้นที่มีปัญหาในลักษณะคล้ายๆ กัน คือการจัดอัตรากำลังและทรัพยากรเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ทุกหน่วยจะเข้าพื้นที่เกิดเหตุเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น ท้งๆที่ก็มีการรายงานสถานการณ์ทางวิทยุสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง (ยกเว้นพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดอัตรากำลังและทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ)

สำหรับพื้นที่ชุมชนเมืองขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเดินทางมาสมทบนานมาก มีปัญหาอุปสรรคทั้งระยะทาง  ทั้งไม่รู้จักเส้นทางดีพอ ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่ลักษณะชุมชนชนบทการขอกำลังสนับสนุนจากพื้นที่อื่นแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรกันเลย  เพราะมาทีไรเพลิงก็สงบหรือวายวอดไปหมดแล้ว

วิธีการคำนวณอัตรากำลังและทรัพยากรที่จะต้องใช้ในการดับเพลิง

1. ปริมาณน้ำที่จะต้องใช้ (แกลลอนต่อนาที)= กว้าง (อาคาร/บ้าน) x ยาว  xสูง (ฟุต) /100

2. กำลังเจ้าหน้าที่ คน  = แกลลออนต่อนาที (ผลการคำนวณจากข้อ 1) / 50

3. กำลังรถดับเพลิง  (คัน) = แกลลอนต่อนาที่ (ผลการคำนวณจากข้อ 1) /500

ทั้งนี้ การพิจารณาสั่งการ หรือขอรับการสนับสนุนในการดับเพลิง จะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วย อย่าเสี่ยงต่อการใช้อย่างจำกัดเกินไป โดยเฉพาะพื้นที่เกิดเหตุเป็นชุมชนหนาแน่น การจราจรติดขัด เพลิงไหม้เกิดที่โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน สถาบัน องค์กรขนาดใหญ่ หรือสถานที่ที่คาดว่าจะมีการลุกลามได้ง่าย

—————————///////////////—————————