วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

เมื่อผลกระทบจากแผ่นดินไหวมาเจอกับความจงใจลดมาตรฐานความปลอดภัยในการก่อสร้าง  ทำให้ตึก สตง. ถล่ม คร่าชีวิตแรงงานแปดสิบชีวิต

ความจงใจที่หนึ่ง ออกแบบไม่เน้นการรับแรงเฉือนของอาคาร เพราะออกแบบไม่มีคาน และถ้าไม่ใช้คาน ก็ต้องออกแบบให้มีผนังรับแรงเฉือน หรือออกแบบให้มีโครงข้อแข็ง หรือออกแบบให้มีโครงสร้างค้ำยัน หรือออกแบบฐานรากที่สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือน แสดงให้เห็นว่าผู้ออกแบบมโนไปว่าตึกที่ตนออกแบบจะไม่มีวันเจอกับแรงเฉือนตลอดอายุตึก

ทั้งที่ค่าจ้างการออกแบบก็สูงลิ่ว กลับไปออกแบบเอื้ออำนวยกับผู้ที่จะกลายเป็นผู้รับจ้างในอนาคต เป็นข้อสงสัยว่ามีกระบวนการฮั้วในโครงการนี้

ความจงใจที่สอง ผู้ก่อสร้างใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด สามสิบสองมิลลิเมตร เป็นเหล็กแข็ง แทนที่จะเป็นเหล็กเหนียว ในส่วนที่เป็นเสาที่เป็นส่วนเดียวของตึกที่ออกแบบมาให้รับแรงเฉือน ซึ่งอาคารสูงในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวต้องใช้เหล็กเหนียว ห้ามใช้เหล็กแข็งเด็ดขาด เพราะเหล็กแข็งจะไม่สมารถรับแรงเฉือนได้เลย แต่พวกจงใจกระทำการเลือกใช้เพราะราคาต่างกันร้อยละสามสิบ

ทำให้ตึก สตง. เจอสองเด้ง คือ เด้งแรกแบบของตึกมีเฉพาะเสาที่รับแรงเฉือนได้ เด้งที่สองมาเจอกับผู้รับจ้างเอาเหล็กแข็งใส่แทน

เมื่อความจงใจทั้งสองมาเจอกับแผ่นดินไหวเล็กน้อยที่เป็นคลื่นความถี่ต่ำด้วย และเพื่อประหยัดต้นทุนการก่อสร้างจึงเลือกใช้เครนที่ยึดกับโครงสร้างตึก และยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ตามความสูง เมื่อเครนไม่ถูกยึดให้แน่นมากพอ ทำให้แกว่งการแกว่งนั้นจะทำให้เกิดแรงเฉือนขึ้นกับโครงสร้างตึก ทำให้ตึกไม่สามารถรับแรงเฉือนได้