วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

สิ่งที่พื้นที่ประสบภัยพิบัติต้องการ

แน่นอนว่าในยามประสบภัยพิบัติ ก็ต้องการให้มีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนให้สามารถลดความสูญเสียหรือเบาผลกระทบให้ได้รับน้อยที่สุด แต่ในยามที่ไม่ประสบภัยพิบัติพื้นที่ที่เคยประสบภัยพิบัติยังมีความต้องการจำเป็นในการรับรู้รายละเอียดความเสี่ยงภัยพิบัติจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ  ภาครัฐอ้างความชอบธรรมของตนเองที่คงอยู่รับเงินภาษีจากประชาชนมาทำงานตื้นๆ เพียงชี้ความผิดของประชาชนชี้ไปที่ความผิดปกติของธรรมชาติ มีปัญญาทำเท่านั้นจริงๆ และไม่เคยเห็นว่าจะมีปัญญาทำมากกว่านั้นได้สักที  เช่น ปัญหาเมาแล้วขับ สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ นักเรียนแท้ๆ ขับมอเตอร์ไซค์ซ้อนสาม หรือปิกอัพบรรทุกคนข้างท้าย เรื่องพวกนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคำสั่ง หรือการตั้งด่านตรวจ หรือการเอาความเป็นคนดีหรือความดีมาอ้าง

แล้วจะตอบสนองความต้องการอย่างไร

ปัญหาเหล่านี้มีรากมาจากโครงสร้างทางสังคมที่ก่อให้เกิดความยากจนและความไม่เป็นธรรมทางสังคม ซึ่งสังคมก็พร้อมใจกันไม่ร่วมกันสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ซะด้วย  แต่กลับตกเป็นเหยื่อพวกปรสิตที่ดึงสังคมไปสร้างองค์กรคนดี หน่วยงานเฉพาะขึ้นใหม่ และสร้างกฎหมายใหม่ๆ เพื่อมารังแก/มาให้คนจนแบกภาระเพิ่มขึ้น มาเป็นภาระกับคนที่เปราะบางกับภัยพิบัติเพิ่มขึ้น  ระดับนโยบายก็ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง  ส่วนระดับล่างก็ทำได้แค่เข้ามาทำให้ปัญหาพ้นไปจากอำนาจหรือความสามารถของเราไปวันๆ (แต่เวลาผู้ตรวจราชการกรมกองต่างๆ มาตรวจเรากลับแสดงผลงานได้อย่างมีรูปธรรมอย่างสัมฤทธิผล)

ไม่มีทางเป็นดั่งความต้องการจำเป็นหากไม่กำจัดระบบปรสิต

ความพิการของกลไกการบริหารราชการหรือบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นอยู่ ไม่เห็นหัวไม่เห็นความต้องการจำเป็นของประชาชน โดยเฉพาะคนยากจน คนชายขอบ  รวมถึงคนชั้นกลาง ถูกฝึกถูกจองจำไว้กับการเตรียมรอภัยพิบัติ และพร้อมสำหรับปฏิบัติการประสานความร่วมมือชดเยเยียวยา

xxxxxxxxxxxxx