การพังถล่มของตึก ส ต ง. กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามกับโครงสร้างของรัฐราชการไทยอย่างลึกซึ้ง การที่โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณแผ่นดินนับพันล้านบาท
- มีข้อสงสัยในการตั้งงบประมาณที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ห้องประชุมของตึกจุผู้คนได้สามพันคน การตกแต่งอาคารมีความหรูหราทั้งรูปแบบที่สวยงามและวัสดุอุปกรร์ประกอบอาคารราคาแพง อย่างไม่เหมาะสมกับผู้รับใช้ประชาชน
- มีข้อสงสัยในการดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้าง
- มีการว่าจ้างผู้ออกแบบที่มีการสวมรอยเอาคนแก่อายุแปดสิบห้าปีเป็นผู้ออกแบบ
- โครงการถูกดำเนินการโดยบริษัทที่ไม่มีประสบการณ์ทางวิศวกรรม การบริหารบริษัทแฝงตัวด้วยนอมินี และมีปัญหาซ้ำซ้อนทั้งในแง่ของคุณภาพ ความโปร่งใส การควบคุมงานมีการสวมรอย แอบอ้าง ชื่อผู้ควบคุมงาน
และทั้งหมดที่กล่าวมา ย่อมมิใช่แค่ความบกพร่องเชิงเทคนิค แต่คือ การสมรู้ร่วมคิดภายใต้โครงสร้างอำนาจที่บูรณาการการทุจริตอย่างเป็นระบบ รัฐราชการปรสิต -ได้สถาปนาศูนย์กลางอำนาจ -ขึ้นมาบริหารการผลิตซ้ำการทุจริตเชิงโครงสร้าง การอนุมัติงาน อนุมัติโครงการ หรือการเข้าถึงงบประมาณ ศูนย์กลางอำนาจจะบริหารองคาพยพในเครือข่ายให้สามารถ “วนตำแหน่ง” และ “แปลงสถานะ” จากผู้ควบคุมงาน มาเป็นผู้รับจ้าง ผ่านนอมินี หรือบริษัทที่โยงใยกันไปมา
บทสรุปการลงเอยของการทุจริตสร้างตึก สตง. ศูนย์กลางอำนาจจะเบี่ยงเบนความสนใจของสังคมด้วยจำกัดข้อมูล หรือบิดเบือนข้อมูล ผลการตรวจสอบจะลงเอยด้วย “ความผิดพลาดเฉพาะจุด” ไม่สามารถแตะต้องเครือข่ายเบื้องหลัง ศูนย์กลางอำนาจลอยนวลต่อไป บริหารการผลิตซ้ำการทุจริตเชิงโครงสร้างต่อไป