วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

แนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มีเจตจำนงในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานราชการในการจัดการภัยพิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายจากภัยพิบัติในทุกๆ มิติ

ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการผลกระทบที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่สำคัญสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การวางแผนการจัดการภัยพิบัติ: หน่วยงานราชการ และคณะบุคคลตามบทบัญญัติของกฏหมายดังกล่าว ต้องวางแผนการจัดการภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตอบสนองและจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  มุ่งผลสัมฤทธิ์  มีความโปร่งใส รวมทั้งนำองค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาประยุกใช้ เพื่อสร้างคุณค่าและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีการตัดสินใจภายใต้ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่  มีระบบการทำงานที่เป็นระบบดิจิทัลที่ทันสมัย สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาประเทศในทุกระดับ
  2. การจัดทีมงานและบุคลากร: บุคคลจะต้องมีดสมรรถนะสูง สามารถปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล มีความคล่องตัว สามารถตอบสนองกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันเวลา มีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า มีระบบบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้สามารถสนองสถานการณ์วิกฤต  มีการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้การปฏิบัติราชการเป็นมืออาชีพ มีจิตบริการ ทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อได้มีการบริหารจัดการตาม 2 ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี ก็เป็นที่คาดหวังว่าคงไม่เกิดผลกระทบจากการบริหารจัดการภัยพิบัติขึ้น

Proudly powered by WordPress