สถานะของ ‘ผู้ลี้ภัยจากสภาพอากาศ’ ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากกฎหมายภายในของประเทศใดในโลกนี้ หรือกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังไม่เกิดขึ้น และประเทศไทยเอง ก็ยังไม่มีระเบียบกฎหมายที่จะช่วยเหลือ (มีการช่วยเหลือการฝึกอาชีพ /การแจกจ่ายภาชนะเก็บน้ำฝน /ช่วยเหลือขุดสระ /ขุดลอกแหล่งน้ำ) แต่ละปีมีผู้ต้องอพยพหนีจากบ้านของตน เอาชีวิตรอด ถูกบังคับให้หนีออกจากบ้าน ปีละ 3,000 – 4,000 ครอบครัว เป็นครองครัวที่พื้นเพในพื้นที่ยังไม่มีระบบชลประทาน และพื้นที่พายุฝนสลายตัวไปก่อนหลังจากขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม
แม้ในปัจจุบัน คนในชนบทจะไม่ได้พึ่งพาการเกษตรของครอบครัวเป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่หากต้องพึ่งพาการรับจ้างอื่น และหากการรับจ้างอื่นนั้น เกี่ยวพันกับภาวะภัยแล้ง พวกเขาเหล่านั้นจะถูกบังคับให้อพยพไปยังเขตเมืองหรือภูมิภาคอื่นที่มีการจ้างงาน
ส่วนใหญ่ ไม่สามารถอยู่รอในพื้นที่รอการเข้าฝึกอบรมอาชีพจากหน่วยงานราชการ นั่งดูโครงการขุดลอกแหล่งของพ่อนากายืมเพื่อนได้ รอรับการแจกจ่ายภาชนะกักเก็บน้ำจากส่วนราชการต่างๆ ได้
การอพยพดังกล่าว เป็นการอพยพแฝงที่ไม่ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลช่วยเหลืออย่างเป็นระบบแต่อย่างใด ขึ้นกับดิ้นรนขนขวายตามมีตามเกิด บางครอบครัวก็ตกอยู่ในเครือข่ายของนักค้าแรงงานสมัยใหม่