วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ด้วยในปี 2565 ประเทศไทยได้เข้าสู่ สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร) ดังนั้น การสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งทางกายภาพและทางด้านสังคม จึงมีความจำเป็นเพื่อให้ภาวะ หง่อมกระจาย ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่เป็นสุขและปลอดภัย

แนวทางการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้านสังคม

1.การเข้าใจ ผู้คนที่แวดล้อมผู้สูงวัยต้องให้ความใส่ใจในความต้องการจำเป็นด้านต่างๆ  หน่วยงานภาครัฐ/เอกชนต้องมีการศึกษาวิจัย ให้ได้นโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ  รวมทั้งการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ เช่น

1.1 ธุรกิจ/กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ: สนับสนุนให้ธุรกิจ/กิจกรรมในชุมชนท้องถิ่นเป็นมิตรกับผู้สูงอายุมากขึ้น มีระเบียบ ธรรมเนียมเพื่อให้การช่วยเหลืออำนวยความสะดวกผู้สูงอายุมากชึ้น จัดหาที่นั่งที่สะดวกสบาย การให้สิทธิพิเศษทางสังคมต่างๆ ตามความเหมาะสม 

1.2 สังคม/ชุมชนต้องจัดให้มีบริการพิเศษทางด้านสุขภาพ การตรวจสุขภาพ และเวิร์กช็อปให้ความรู้ที่ปรับให้เหมาะกับประชากรสูงอายุโดยเฉพาะ

1.3 กระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายพิจารณาความต้องการของประชากรสูงอายุ  เมื่อจะทำการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมือง การคมนาคม ที่อยู่อาศัย และบริการสาธารณะ

2.การเข้าถึง จะต้องมีแนวทางการร่วมแรงร่วมใจจากผู้สูงอายุออกมาเป็นพลวัตทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ เช่น

2.1 การมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการจัดโปรแกรมและกิจกรรมที่กำหนดเป้าหมายเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์ชุมชนหรือศูนย์ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมสันทนาการ โปรแกรมการศึกษา บริการสุขภาพ และกิจกรรมทางสังคม

2.2 มีเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคม: ส่งเสริมเครือข่ายการสนับสนุนทางสังคมโดยการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมกลุ่ม และอำนวยความสะดวกในโปรแกรมระหว่างรุ่น ซึ่งส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกในชุมชนอื่นๆ

3.การพัฒนา คือการนำความเข้าใจและการเข้าถึงมาสู่ PDCA CYCLE

แนวทางการสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้านกายภาพ

1.การเข้าใจ  ประชาชนต้องกดดันให้หน่วยงานภาครัฐ มีการตรวจสอบและดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้แน่ใจว่าพื้นที่ในเมืองมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ 

2.การเข้าถึง มีแผนงาน/โครงการในการเข้าถึงผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ายั่งยืน เช่น

1.1 ที่จำเป็นเร่งด่วนคือโครงสร้างที่รองรับเคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ ซึ่งรวมถึงทางลาดสำหรับรถเข็น การขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงได้ ทางเท้าที่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม และทางม้าลายที่ออกแบบมาอย่างดี

1.2 แสงสว่างเพียงพอ: ปรับปรุงไฟถนนในเขตเมืองเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยและลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือการหกล้ม โดยเฉพาะในช่วงเย็น พื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ

1.3 มาตรการความปลอดภัย: เพิ่มมาตรการความปลอดภัย เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด ตู้โทรฉุกเฉิน และตำรวจสายตรวจปกติ สิ่งนี้จะช่วยยับยั้งอาชญากรรมและให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุในเขตเมือง

3.การพัฒนา คือการนำความเข้าใจและการเข้าถึงมาสู่ PDCA CYCLE

การขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ์

เริ่มจากตัวท่าน อย่าเป็นเด็กดีของภาครัฐเกินขอบเขต  รื้อการปลูกฝังความดีจากโรงเรียนออกมาวิเคราะห์

Search