วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ยุทธศาสตร์ชาติ มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่โดยมีที่มา 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มาจากกองทัพ ภาคราชการและตัวแทนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ 2.กลุ่มกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี  โดยคณะกรรมการจะมีหน้าที่ออกแบบยุทธศาสตร์ชาติเพื่อบีบให้รัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องเดินตามความฝันของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

พิบัติภัยหรือสาธารณภัยอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอย่างไร

การพัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มี 6 ยุทธศาสตร์ พิบัติภัยอยู่ในเป้าหมายของยุทธศาสตร์ 2 ด้าน คือ

1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

ที่มีเป้าหมายการพัฒนาเน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อม สามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบและทุกระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล

Links:ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง

2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้งสามด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง

Links:ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สถานภาพของภัยพิบัติในยุทธศาสตร์ชาติเป็นเพียงวาทกรรมเพื่อกดขี่ควบคุมประชาชนผ่านตัวแทนจากการเลือกตั้ง

เป้าหมายการพัฒนาที่เขียน/กำหนดไว้เป็นการสร้างพลวัตของสังคม (แต่ที่ทำในปัจจุบัน คือมุ่งสร้างความเข้มแข็งรัฐราชการ  โยนแต่ภาระด้านการเสียภาษีมาเลี้ยงดู พร้อมกับการโหมโฆษณาชวนเชื่ออำนาจบทบาทหน้าที่ภารกิจของตน) สร้างศักยภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  (แต่ที่ทำในปัจจุบัน คือการสร้างสภาพแวดล้อมทางเครื่องมืออุปกรณ์ สร้างพิพิทธภัณฑ์ประจำแต่ละภาคแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด) ภายใต้การพัฒนาประเทศด้วยยุทธศาสตร์ด้านด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

————-xxxxxxx————–