แม้จะมีสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวของกรมอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย แต่รอ “ผู้ใหญ่สั่งการ” ก็ทำให้การแจ้งข้อมูลสู่สาธารณะล่าช้า ถึงแม้การรายงานผลผ่านเว็บไซต์จะเป็นเพียงพิธีกรรม แต่ก็ล่าช้ามาก หน่วยงานที่มีระบบประกาศแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวอย่างเป็นระบบ ก็ไม่กล้าตัดสินใจออกประกาศ ต้องรอ “ผู้ใหญ่สั่งการ”
กรุงเทพมหานครอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว ประมาณหนึ่งพันหนึ่งร้อยกิโลเมตร คลื่นแผนดินมีความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตรต่อนาที ดังนั้น คนในกรุงเทพมหานคร มีเวลาการอพยพออกจากตึกรามบ้านช่่อง 20 นาที
20 นาทีนั้น สำหรับปรสิตในรัฐราชการ เป็นไปไม่ได้เลยที่้จะดำเนินการใดๆได้ ถ้าให้เวลาปรสิตตัดสินใจสองชั่วโมง ไม่รู้ว่าจะกล้าประกาศแจ้งเตือนภัยประชาชนไหม
วัฒนธรรมฝังรากลึกในกระทรวงมหาดไทยที่ควบคุมดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นสำนักหนึ่งสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหลายวัฒนธรรมที่เข้าไม่ได้กับการประกาศแจ้งเตือนภัย ได้แก่
การตัดสินใจต้องคำนึงถึง “ความสบายใจ” ของผู้บริหาร มากกว่าความปลอดภัยของประชาชน ความเงียบเป็นทางรอดที่ดีที่สุด ไม่มีใครอยากเป็นคนแจ้งข่าวร้าย เพราะอาจทำให้นายต้องตอบคำถาม
ผู้บริหารระดับสูงจะมีแนวทางการบริหารภัยพิบัติ แบบ “ไม่ทำอะไร ไม่ผิด”
ดังนั้นการบริหารจัดการภัยพิบัติโดยกระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงเป็นระบบ กาฝาก ที่ฝังตัวแน่นกับภาษีประชาชน แต่เลียแข้งเลียขานายเพื่อต่ออายุขัยตัวเอง การตัดสินใจใดที่อาจทำให้หัวหน้าไม่พอใจนั้นต้องเลี่ยงเป็นอันดับแรก ส่วนชีวิตประชาชน? ก็แค่ตัวเลขในข่าวเมื่อเกิดเหตุแล้วก็เท่านั้น”