ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทย หลังปี 2566 เรื่อยมาตกอยู่ภายใต้การครอบงำของระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตย แม้จะมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีการจัดตั้งรัฐสภาเป็นองค์กรสูงสุดในการประชุมและตัดสินใจในเรื่องสำคัญ แต่นั้นเป็นเพียงแค่เปลือกนอก ด้านในในตกอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจบารมีนอกรัฐธรรมนูญ
และแม้ในด้านการจัดการภัยพิบัติ จะเป็นสิ่งที่ระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตยให้ความสำคัญมาก เพื่อสร้างจิตสำนึกบุญคุณให้แก่มวลประชา การหลุดพ้นจากการจัดการภัยพิบัติ ภายใต้ระบอบศักดินา-อำมาตยาธิปไตย มีแนวทาง ดังนี้
- เปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงการกำกับดูแลและควบคุมการดำเนินงานการจัดการภัยพิบัติ หากไม่สามารถต้านทานหรือเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นเพิ่มการกระจายอำนาจยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคทั้งหมด จัดสรรอำนาจให้การบริหารราชการท้องถิ่น
- ผลักดัน/เรียกร้องประเด็นการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองฉุกเฉิน
- การแบ่งปันความรู้และทรัพยากร: การเน้นการแบ่งปันความรู้และทรัพยากรในชุมชน ทำให้ประชาชนมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในระดับบุคคลและระดับชุมชน
การสืบทอดสันดานศักดินาในการขูดรีดภายใต้การช่วยเหลือ ลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ส่วย การกินเปล่าเอาจากงบประมาณช่วยเหลือ (ประมาณร้อยละ 20-40)
- ฤชา ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บเอาจากประชาชนในการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐ (ไม่ค่อยพบการสืบสันดานในประเด็นนี้มากนักในการจัดการภัยพิบัติ)
- จังกอบ การเก็บชักส่วนทรัพยากรการช่วยเหลือ (ประมาณร้อยละ 50-60)