สภาพอากาศวิปริต มีต้นเหตุหลักมาจากกระแสน้ำวนในมหาสมุทรที่คอยรักษาสมดุลของสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กระแสน้ำในมหาสมุทรที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศรุนแรงที่จะวิปริต มี 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิก (กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคูโรชิโอะ (กุโรชิโว)) และมหาสมุทรแอตแลนติก (กระแสน้ำกัลฟ์สตรีม) ต้นเหตุรองลงมาก็จะเป็นวัฏจักรของน้ำที่ไหลเวียนระหว่างสิ่งต่างๆ บนพื้นดินกับแหล่งน้ำ (Water Cycle)
รูปแบบสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศไทย อย่างไรที่เรียกว่า “รูปแบบสภาพอากาศที่วิปริต”
1. คลื่นความร้อน (ปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 5 วัน เพิ่มขึ้น 5 องศาเซลเซียส) ซึ่งประเทศไทยยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียกว่าเป็นคลื่นความร้อน แต่สภาพอากาศจะคล้ายๆ กัน เพียงแต่ยังเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส
2.ปรากฎการณ์เอลนีโญ และลานีญา จะเพิ่มระยะเวลานานกว่าปกติ (ปกติ 12-18 เดือน หรือ 1 -1.5 ปี) หรือมีปรากฏการณ์ที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี
2.1 ปรากฎการณ์เอลนีโญ ประเทศไทยจะแล้ง เพราะอนุภาคนำ้จากการระเหยไปกองอยู่บริเวณทวีปอเมริกาใต้ จากอิทธิพลกระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรไหลจากฝั่งตะวันตก (แถวประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์)ไปฝั่งตะวันออกบริเวณทวีปอเมริกาใต้
เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ภาวะแห้งแล้งจะรุนแรง อนุภาคน้ำหายไปจากพื้นที่ปริมาณมาก ผลกระทบจะมากมายขึ้นเรื่อยๆ สูญเสียทรัพยากรโดยเฉพาะเม็ดเงินในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือนหรือภาครัฐ
2.2 ปรากฎการณ์ลานีญา ประเทศไทยมักจะเกิดน้ำท่วม เพราะอนุภาคนำ้จากการระเหยมากองอยู่เหนือทะเลบริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แถบประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จากอิทธิพลกระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรไหลจากชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้มาฝั่งตะวันตกแถบประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ภาวะฝนตกหนัก ด้วยอนุภาคน้ำในบริเวณพื้นที่มีมากขึ้น เมื่อกลั่นตัวเป็นฝนตกก็จะมีปริมาณน้ำฝนมาก (ฝนตกหนัก) ช่วงที่ผ่านมาหากอยู่ในช่วงลานีญา ประเทศไทยก็จะประสบอุทกภัยเป็นบางพื้นที่ไล่มาตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้