วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ภาพของสมรรถนะภัยพิบัติ

ในการพัฒนา ปรับปรุงสมรรถนะในด้านต่างๆ นั้น สมรรถนะจะต้องมุ่งไปที่ต้นทางมากกว่าปลายทาง (ต้นทางคือกรอบแนวคิด ค่านิยม ทัศนคติ  ปลายทางคือ การมานั่งรับการอบรม มานั่งหัวเราะดูเพื่อนกลัวถังแก๊สในสนาม การมาหอบลูกจูงหลานขึ้นรถขนย้ายผู้ประสบภัยคันละห้าล้านหกล้านอย่างสนุกสนานฯลฯ) โดยเชื่อว่าหากเราปรับปรุงคนที่ต้นทางให้มีคุณลักษณะที่ดีหรือเหมาะสมแล้ว พฤติกรรมของคนๆ นั้น ก็จะเปลี่ยนไปในทางที่เหมาะสมที่จะทำงานในตำแหน่งงานที่รับผิดชอบให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

ฝึกอบรมอย่างไรดี

ตามแนวคิดสมรรถนะ หากนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องภัยพิบัติ การฝึกอบรมก็เพื่อสลายคุณลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น มีทัศนคติที่เป็นลบอยู่ตลอดเวลา ขาดความสนใจ ขาดความกระตือรือร้น ฯลฯ สมรรถนะไม่ใช่ความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆของบุคคล แต่เป็นกลุ่มพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งเกิดจากการที่บุคคลมีความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆที่จำเป็น สำหรับการทำงานให้ประสบความสำเร็จหรือมีผลงานโดดเด่น  พวกเราอย่าปล่อยให้รัฐปรสิตนั่งสำราญผลาญเงินภาษีของพวกเรา ดูจากต้นทางที่ ถ้าพวกเขาอ้างโครงการว่าประชาชนไม่มีความรู้ ขาดความรู้ต้องจัดโครงการยัดเยียดความรู้ให้ประชาชน นั่นแหละครับ มั่นใจได้เลยว่าเราโดนพวกรัฐปรสิตหลอกหลอนอยู่

จะพัฒนาหรือสถาปนาสมรรถนะภัยพิบัติให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

1. ระบุ/กำหนดพฤติกรรมในยามปกติที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมในยามที่เกิดภัยพิบัติ

2. ระบุ/กำหนดมาตรฐานความสามารถที่เพียงพอ เป็นระดับๆ ตามระดับภัยพิบัติ (เล็ก กลาง ใหญ่) แล้วพัฒนาชุมชนหมู่บ้านของเราตามระดับภัยพิบัติ  หากเราอยู่ในพื้นที่เกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ก็ต้องเรียกร้องการจัดการแบบใช้สิ่งก่อสร้างเป็นหลัก (ความสามารถเชิงสังคมใหญ่เป็นหลัก)หากอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติเล็กๆ ก็พัฒนากรอบแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยมกันไปอย่างเดียว ไอ้พวกรัฐปรสิตมันไม่รู้เรื่อวรู้ราวอะไรนักนะครับ  ทำงานแบบตัดเสื้อโหลมาให้ใส่กันทั้งประเทศ

3.มีกรอบในการสร้างวัฒนธรรมชุมชน

เพราะเราจะต้องระวังว่า หากชุมชนใดไม่ได้ออกแบบวัฒนธรรมโดยรวมของชุมชนไว้  วิถีชีวิตโดยธรรมชาติก็จะสร้างวัฒนธรรมที่ไร้ทิศทาง ขัดแย้งทั้งต่อคนในชุมชนและกับสังคมภายนอก และระบบนิเวศรอบๆ ตัว ซึ่งปกติมักจะไม่เอื้อต่อความปลอดภัยจากภัยพิบัติ หรือมักจะเป็นตัวก่อภัยพิบัติทางอ้อม

ค่าสถิติการศึกษาตัวแปรการสถาปนาสมรรถนะภัยพิบัติ

ตัวแปร

ค่าต่ำสุด

ค่าสูงสุด

ค่าเฉลี่ย

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ระบุ/กำหนดพฤติกรรมในยามปกติ

0

10

8.9

2.5

ระบุ/กำหนดมาตรฐานความสามารถที่เพียงพอ

0

10

7.8

3.2

มีกรอบในการสร้างวัฒนธรรมชุมชน

0

10

5.2

3.7

  ———xxxxxx———–

 

 

Search