วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยไม่ยึดถือหัวใจของการศึกษาประวัติศาสตร์ไม่ได้อยู่ที่ตัวละคร เหตุการณ์ สาเหตุ หรือผลลัพธ์เท่านั้น แต่อยู่ที่วิพากษ์วิจารณ์หาข้อสรุปว่า “ทำไมและอย่างไร” จากตัวละคร เหตุการณ์ สาเหตุ หรือผลลัพธ์เหล่านั้น  การศึกษาประวัติศาสตร์เพียงท่องจำตัวละคร (นับจำนวนผู้ประสบภัย 2-3 หมื่นคน) เหตุการณ์(สามารถบอกได้แค่พื้นที่เสียหาย) สาเหตุ (แค่บรรยายโพนทะนาลำดับเหตุการณ์) และผลลัพธ์ (ร่ายยันต์ออกมาเป็นตัวเลขจำนวนเงินที่จะนำมาแปะหีบสมบัติประชาชน เพื่อจะได้ขนออกมาเปิดโกงกิน)  ของเจ้าหน้าที่รัฐราชการปรสิตในหน่วยงานกลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำสู่ภารกิจตบตาประชาชนโดยเพียงนำตัวละคร เหตุการณ์ สาเหตุและผลลัพธ์มาแปะในแผ่นเอกสารและเขียนบทบาทพระเอกนางเอกเอาไว้แสดงโชว์เก็บแต้มความชอบธรรมในการคงอยู่ของอาณาจักร  ให้อยู่บนบ่าของประชาชนอย่างราชาต่อไป    ลักษณะการนั่งอยู่บนบ่าของประชาชนอย่างราชาเป็นดังนี้

  1. การขาดบริบท : ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถให้บริบทที่มีคุณค่าต่อการทำความเข้าใจประเภทของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และการเสนอกลยุทธ์การรับมือที่ขาดการใช้บริบทที่มีประสิทธิภาพ
  2. การทำซ้ำข้อผิดพลาด : พวกเขาจะละเลยการระบุข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการตอบสนองครั้งก่อน ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อผิดพลาดซ้ำ ซึ่งนำไปสู่การจัดการภัยพิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพของพวกเขา
  3. ความเข้าใจทางวัฒนธรรมและสังคม : พวกเขาจะไม่แคร์ต่อแง่มุมทางวัฒนธรรมและสังคม ทำให้การเตรียมพร้อมมุ่งที่สร้าง/ขยายอาณาจักรของพวกเขา ทำให้การตอบสนองต่อภัยพิบัติ และการฟื้นตัวจากภัยพิบัติต้องคอยอยู่ภายใต้ความเมตตา ที่สั่งการเฉียบขาดมาดพระเอกมาจากเบื้องบน
  4. โครงสร้างพื้นฐานและการวางผังเมือง : พวกเขาจะละเลยรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูลในอดีตที่จะสามารถวางผังเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิผล นำไปสู่โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ และการตัดสินใจใช้ที่ดินซึ่งอาจทำให้ความเปราะบางจากภัยพิบัติรุนแรงขึ้น
  5. ความสามารถในการฟื้นตัวของชุมชน : พวกเขาจะละเลยตัวอย่างของความสามารถในการฟื้นตัวของชุมชน และความรู้ดั้งเดิมในการจัดการภัยพิบัติ การเพิกเฉยต่อประเด็นนี้  ทำให้ชุมชนขาดเครื่องมืออันทรงคุณค่า
  6. นโยบายและกฎหมาย : พวกเขามักจะละเลยการนำความรู้ทางประวัติศาสตร์มาพัฒนานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ทำให้เกิดช่องว่างในกรอบกฎหมายและข้อบังคับหลากหลายประการ
  7. ความตระหนักรู้และการศึกษาของสาธารณะ : พวกเขาจะไม่แยแสต่อการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของภัยพิบัติมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณะเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และมาตรการเตรียมความพร้อม

โดยสรุป อย่าปล่อยให้พวกเขานั่งอยู่บนบ่าของประชาชนอย่างราชา  และเร่งกดดันให้มีการส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยทางประวัติศาสตร์อันจะสามารถเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นโดยรวมของประเทศต่อภัยพิบัติ

Search

Social

Facebook : <a href="https://www.facebook.com/profile.php?id=61555375088440"

Instagram

Twitter