วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กระดับมัธยมศึกษาในชนบท ส่วนใหญ่มีทัศนคติว่า เด็กบ้านนอกไม่ต้องฉลาดมากก็ได้?” ึ่งเป็นทัศนคติที่บั่นทอนอนาคตคนจนอย่างร้ายกาจ
ข้ออ้างของผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็กในชนบทที่ว่า “โรงเรียนขนาดเล็กไม่ต้องเน้นผลสัมฤทธิ์เพราะเด็กจะไปทำงานกรรมกร–เกษตรกร” สะท้อนความคิดอันตรายที่สุดอย่างหนึ่งในระบบการศึกษาชนบทไทย — พูดให้แรงกว่านี้ก็คือ เป็น อาชญากรรมทางปัญญา แบบนุ่ม ๆ

เมื่อใดที่ครู–ผู้บริหารยอมแพ้ต่อชะตากรรมเด็ก ความเหลื่อมล้ำจะถูก “ทำให้ชอบธรรม” ทันที หรือ การยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำว่าเป็นเรื่องปกติ จะทำให้เด็กจะถูกตีตราว่า “เรียนไม่ดีอยู่แล้ว”  ครูจะไม่ยกมาตรฐานตนเอง หรือเป็นครูห่วยๆ โรงเรียนก็จะไม่มีวันหลุดวงจรจน–ด้อย–ซ้ำซ้อน  ถ้าโรงเรียนเล็กบอกเด็กว่า “ไม่ต้องฉลาดก็ได้” นั่นแหละ คือการปิดโอกาสเด็กไม่ให้หลุดพ้นความจน ตัดตอนอนาคตทั้งครอบครัว

ในทางตรงกันข้าม ประชาชนจ่ายภาษีครึ่งล้านต่อเดือน ให้โรงเรียนมัธยมขนาดเล็กมีครู มี ผอ. มีธุรการ ก็เพื่อให้คนจนมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเด็กในเมือง  ถ้าผู้บริหารคิดว่า: “ไม่ต้องเน้นคุณภาพวิชาการหรอก เอางานอาชีพไปพอ” คำถามคือ: แล้วเงินเดือนที่ได้ไป เดือนละ ุ60,000 ถึง 70,000 เพื่ออะไร? ค่าวิชาชีพอีกเดือนละเกือบสองหมื่นบาท ค่าจ้างครูและเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีกรวมกัน อีกเดือนละครึ่งล้าน เพื่ออะไรกัน

Search

@msjo.net

Twitter

https://www.youtube.com/channel/UCWQvQCFFyHZtznjgmYvVbfw