วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

อำนาจแบบแข็ง (Hard Power) หมายถึงการใช้อำนาจหรือวิธีการที่มีลักษณะบังคับหรือบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น การใช้กฎหมาย การกำกับดูแล การบังคับบัญชา การใช้กำลังหรือทรัพยากรในการควบคุมสถานการณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการของราชการส่วนภูมิภาคในประเทศไทย

อำนาจแบบอ่อน (Soft Power) เป็นแนวทางการใช้อำนาจที่เน้นการโน้มน้าว สร้างความร่วมมือ และการสร้างความเชื่อมั่นผ่านการเจรจา การสนับสนุน การสร้างความสัมพันธ์ และการส่งเสริมความเข้าใจมากกว่าการบังคับโดยตรง ในบริบทของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำนาจแบบอ่อนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างราชการ ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ

เมื่อนำคำทั้ง 2 คำดังกล่าวมาใช้เปรียบเทียบกับการบริหารจัดการสาธารณภัย ก็จะพบว่าลักษณะการบริหารจัดการเป็นอำนาจอ่อน แต่ผ่านการปฏิบัติแบบอำนาจแข็ง ภายใต้แนวคิดรัฐราชการปรสิต

การปฏิบัติแบบอำนาจแข็ง ถูกผนึกแน่นอย่างยิ่ง ตั้งแต่มีการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ.2545  ตัวอย่างประเด็นการใช้อำนาจแบบแข็งพวกปรสิต ได้แก่

1.ละเลย เพิกเฉยต่อการเรียนรู้ การรับรู้ต่อการประสบพิบัติ  รับผิดชอบต่อประชาชนด้วยการปัดสวะ (มีความเดือดร้อนก็ช่วยตามกำลัง และแรงศรัทธาของประชาชนร่วมชาติ)

2.แช่แข็งการมีส่วนร่วมด้วยการบิดเบือน ด้วยการเอาประชาชนส่วนหนึ่งมาจัดตั้งกองกำลังสนับสนุนภารกิจลับ ลวงพรางตัวของตัวเอง

แนวทางการแก้ไขความเลวร้ายดังกล่าว

ยกเลิกภารกิจตามข้อ 1 และข้อ 2 ด้วยการยกเลิกการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค ด้วยศักยภาพของพวกปรสิตระดับส่วนภูมิภาคไม่มีวันจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะก้าวพ้นระบบอุปถัมภ์  ที่สร้างกลไกการฉกฉวยผลประโยชน์บนอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบ

Search