วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ตามแนวคิดการมีส่วนร่มของอาร์มสไตน์ ที่มองการมีส่วนร่วมเป็นความเข้มของการมีส่วนร่วมในแง่ของการมีอำนาจในการตัดสินใจของประชาชน

ซึ่งมีพิสัยอของความเข้มตั้งแต่การไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเลยไปจนถึงการมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่

แนวคิดการมีส่วนร่วมลักษณะนี้ จำแนก ได้ 4 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 การมีส่วนร่วมแบบถูกกระทำ (Passive participation) เป็นขั้นเริ่มแรก ซึ่งถือว่าการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการยอมรับ (Accepting)

หรือการเพิ่ม (Gaining) การเข้าถึงผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมหรือการช่วยเหลือปัจจัยการดำรงชีวิตเฉพาะหน้าบางประการ

จากการประเมิน : ประชาชนมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น

ประเภทที่ 2 การมีส่วนร่วมแบบสะท้อนการถูกกระทำ (Passive / reflective participation) การมีส่วนร่วมประเภทนี้เป็นส่วนต่อเนื่องจากประเภทที่หนึ่ง

โดยถือว่าการมีส่วนร่วมเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยให้ประชาชนเข้าใจสาเหตุของสภาพการณ์ต่างๆ ของอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ให้มีความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น

จากการประเมิน : ประชาชนมีส่วนร่วม ขั้นนี้ ประมาณ ร้อยละ 2 เท่านั้น  ระดับองค์กร มีส่วนร่วมขั้นนี้ ประมาณร้อยละ 3

ประเภทที่ 3 การมีส่วนร่วมแบบกระตือรือร้น (Active participation) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับองค์กรหรือบุคคลระดับพื้นฐาน (Grass roots)

ที่กระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับกว้างๆ จากกลุ่มอื่นๆ ทั่วๆ ไปที่มีอยู่ในส่วนต่างๆ ของสังคม นอกเหนือไปจากกลุ่มสังคมใกล้ๆตัว

จากการประเมิน : บุคคลมีส่วนร่วมระดับนี้ ประมาณร้อยละ 0.5 ระดับองค์กร มีส่วนร่วมในระดับนี้ ประมาณร้อยละ 1

ประเภทที่ 4 การมีส่วนร่วมแบบสะท้อนความกระตือรือร้น (Active / reflective participation) ขั้นนี้เสริมต่อจากขั้นการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น

เป็นการสะท้อนหรือการประเมินเกี่ยวกับข้อจำกัด และทางเลือกต่างๆ ของโครงการภายใต้บริบทระดับชาติ ภายใต้เงื่อนไขเดิมของโครงการที่มีอยู่

โดยปกติจะรวมถึงการออกแบบการก่อรูปหรือการประเมินเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางเลือกของโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

จากการประเมิน : บุคคลมรส่วนร่วมระดับนี้ ประมาณร้อยละ 0.001  ระดับองค์กร มีส่วนร่วมระดับนี้ ประมาณร้อยละ 0.5

———————555555555555555555——————————