วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

บทเรียนที่ถูกละเลยเพิกเฉย

ย้อนประวัติศาสตร์ไปสัก 20 ปี สถานการณ์อุทกภัย  นำ้ป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในประเทศไทยสร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนหมู่บ้านเกิดการสูญเสียบ้านเรือนและชีวิตคราวเดียวกันเป็นการตายหมู่คราวเดียวกัน หลายๆ ครั้ง เช่น

บิดเบือนเพิกเฉยต่อประวัติศาสตร์เพื่อสร้างอนุสาวรีย์มรณะให้กับประชาชน

จากวันนั้นถึงวันนี้ ส่วนราชการต่างๆ ได้เข้าร่วมป้องกัน นับรวมเงินงบประมาณนับหมื่นล้านที่ใช้ไป ด้วยการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน  เครื่องไซเรนแจ้งเตือนภัย ระบบโทรมาตรในลุ่มน้ำ

แต่สิ่งที่ทิ้งทุ่นหายนะให้กับประชาชน คือ

“เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนที่ติดตั้งไปแล้ว ร้อยละ 18 ยังอ่านค่าด้วยคน อ่านวันละ 1 ครั้ง ในเวลา 07.00 น. แต่ไม่มีการป้องกันช่องโหว่ 2 ประการ คือ 1) ในกรณีฝนไม่ได้ตกในหมู่บ้าน 2)ปริมาณที่ตกเพียง 2 ชั่วโมงก็จะสามารถเกิดน้ำป่าไหลหลากที่สร้างความสูญเสียได้ ดังนั้น การใช้คนไปอ่านวันละ 1 ครั้ง เวลา 07.00 น. ในบางครั้งจะไม่ทันการณ์”

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังมีเครื่องวัดปริมาณนำ้ฝนทั้งหมด 2,800 เครื่อง อ่านด้วยคน เครื่องไซเรน จำนวน 2,800 เครื่อง ต้องใช้คนหมุนด้วยมือให้เกิดเสียงแจ้งเตือน  (ไซเรนมือหมุนแบบพกพา) แต่ทั้งหมดล้วนติดตั้งอยู่ในชุมชนที่ความน่าจะเป็นการเกิดอุทกภัย ร้อยละ 73 มาจากพื้นที่นอกชุมชน

กรมทรัพยากรน้ำ ทั้งหมดเป็นเป็นเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนอัตโนมัติ อ่านค่าและแจ้งเตือนอัตโนมัติด้วยสีและเสียง  แต่ทั้งหมดล้วนติดตั้งอยู่ในชุมชนที่ความน่าจะเป็นการเกิดอุทกภัย ร้อยละ 73 มาจากพื้นที่นอกชุมชน https://news.dwr.go.th/uploads/userfiles/files/service/EWS_manual.pdf

กรมชลประทาน จะติดตั้งระบบโทรมาตรในแม่น้ำ ลำคลองที่รับผิดชอบ มีเครื่องวัดระดับน้ำอัตโนมัติและมีการแจ้งเตือนทันทีให้พื้นที่ได้ทราบในบางจุดเท่านั้น

กรมทรัพยากรธรณี กระบอกวัดปริมาณน้ำฝนอ่านด้วยคน เครื่องเปล่งสัญญาณเตือนภัย (ไซเรนมือหมุนแบบพกพา) และวิทยุสื่อสาร เป็นต้น พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นในเรื่องการเฝ้าระวังการแจ้งปริมาณน้ำฝน และแจ้งเตือนพิบัติภัยผ่านทางสังคมออนไลน์ (Line application)

———–xxxxxx————–