เจาะลึก “ขุนช้าง–วันทอง” กับ “ไฮโซเก๊หมูกรอบ–คะน้า”
วันทองไม่ได้อยากรักขุนช้าง แต่สังคมกดดันให้เธอ ต้องเห็นว่าขุนช้างคือทางรอด
คะน้าไม่ได้แพ้ความรัก แต่แพ้ “สารเคมีในสมองตัวเอง” สารโดปามีนในสมองคะน้าจะหลั่งไหลทุกวันที่หมูกรอบกระตุ้น จัดชุดใหญ่กระตุ้น จนคะน้าลืมไปว่า “นี่มันละครซีรีส์ที่ผู้ชายเขากำกับ!” ทั้งทั้งที่ตัวเองก็เป็นนักแสดง
“คนเราสามารถรักคนผิดได้ ถ้าอีกฝ่ายรู้จักวิธีจุดสารเคมีในสมองให้ทำงาน” โดยใช้ทรัพยากรในสังคม สร้างศักยภาพให้ตัวเอง มีภาพลักษณ์ที่ดี อ้างตัวเป็นเศรษฐี มีแบรนด์ มีธุรกิจ มีเครือข่ายอำนาจ โชว์สถานะทางสังคมที่สูงด้วยรถหรูที่เช่าชั่วโมงละพัน และเด็กนำขบวนที่พี่ใหญ่ทัพฟ้ามานำขบวนให้–อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งสมจริงสมจังมากมาหลอกคนอื่นอย่างแนบเนียน ภาพลวงถูกขายเป็นความจริงได้ในราคาถูกๆ
แต่คะน้าน่าจะเอะใจบ้างว่า ถ้าของจริงรถนำขบวนจะดึกดื่นค่ำคืนขนาดไหนเขาจะปฏิบัติหน้าที่อยู่นำขบวนจนกระทั่งเข้าบ้าน ไม่ว่าจะดึกดื่นอย่างไร ทำให้ตนเองต้องกลายเป็น หญิงซ้อนสัมพันธ์ โดยไม่รู้ตัว ทำให้ตัวเองต้องเป็นเพียง “หนึ่งในคอลเลกชั่นรักปลอม” ที่หมูกรอบจัดไว้เพื่อเสริมโปรไฟล์
- วันทองไม่ได้ผิดที่รักขุนช้าง แต่ผิดที่เกิดในยุคที่รักคือความมั่นคงในทางสังคมและทางเศรษฐกิจ
- คะน้าไม่ได้ผิดที่รักหมูกรอบ แต่ผิดที่คะน้าอยู่ในสังคมที่ ความรวยถูกใช้กลบศีลธรรม และภาพลวงถูกขายเป็นความจริง — รักลวงในประวัติศาสตร์ ไม่เคยจากไปไหน
มันแค่เปลี่ยนแพ็คเกจใหม่เป็น Rolex, รถเช่า และคอนโดรังรักที่ผ่อนไม่ถึงสามงวด
ขุนช้างกับไฮโซหมูกรอบ คือคนคนเดียวกันในสองยุค — พวกเขาไม่หล่อ แต่พวกเขามีกลวิธีหลอกผู้หญิงเพื่อให้ได้หญิงสมใจ แต่กลวิธีนั้น ไม่ใช่เพราะเขาเก่ง แต่เพราะสังคมให้อำนาจเขามาหลอกคนอื่นอย่างแนบเนียน
ไฮโซหมูกรอบ วางกลยุทธ์ปั่นหัวคะน้ามา “เป็นทรัพย์สินทางอารมณ์” คะน้าเหมือนคอนโดห้องหนึ่ง ที่เขา “ถือครอง” พร้อมๆ กับอีกหลายห้องที่เขาจ่ายดาวน์ไว้แล้ว
เขาไม่หล่อ ไม่เก่ง ไม่อบอุ่น แต่รู้ว่า “ต้องลงทุนอย่างไรให้ได้ผู้หญิงสวยๆ” มาเสริมภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือ
ขุนช้างวางกลยุทธ์ปั่นหัวสังคมรอบ รอบตัววันทอง กดดันให้เธอ ต้องเห็นว่าขุนช้างคือทางรอด ปั่นหัวสังคมให้วันทองเป็นเหยื่อทางวัฒนธรรม” ที่ผูกให้ผู้หญิงต้องมองความมั่นคงเป็นความรัก สุดท้ายก็ถูกตราหน้าว่า “สองใจ” ทั้งที่ความจริงเธอเป็นแค่ “คนที่ไม่เคยได้เลือกจริงๆ”