เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน 2566 ประเทศจีนต้องประสบวิกฤตน้ำท่วมพื้นที่ 1 ใน 3 ประเทศ ด้วยฤทธิ์พายุไต้ฝุ่น “ทกซูรี” “ขนุน” และ “เซา ลา” ประชาชนกว่า 1.4 ล้านต้องอพยพออกจากบ้านเรือน การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานทั้งสะพาน ถนนหนทางและบ้านเรือนต้องใช้เวลาราว 3 ปี
จักรพรรดิจีน โทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ตู่ห้าว ของไทย หรือเปล่าไม่รู้ (คงไม่รู้ว่าเชี่ยวชาญทำให้น้ำท่วมไม่ใช่ป้องกันนำ้ท่วม) จึงตัดสินใจประกาศใช้ “มาตรการพื้นที่กักเก็บน้ำท่วมและลุ่มน้ำกักกัน”
มาตรการพื้นที่กักเก็บน้ำท่วม ใช้มณฑลเหอเป่ย รองรับการผลักดันมวลน้ำจำนวนมหาศาล 1.8 พันล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อป้องกันกรุงปักกิ่งจมบาดาล
มาตรการลุ่มน้ำกักกัน ใช้ลุ่มแม่น้ำหยงติง ที่มีความยาว 650 กิโลเมตร (400 ไมล์) รองรับการระบายน้ำจากพื้นที่การเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ให้ไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่มองโกเลียในจากนั้นมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้สู่มณฑลเหอเป่ย
วิกฤตการณ์ดังกล่าว ภายใต้การเตรียมการป้องกันด้วย “แผนปฏิบัติการปรับปรุงโครงสร้างสิ่งแวดล้อม” และมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยรับมือกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมออกมาบังคับใช้แล้วกว่า 30 ฉบับ และออกประกาศกฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมอีก 100 กว่าฉบับ ในบางพื้นที่ รัฐบาลจีนออกกฎหมายพิเศษเฉพาะ เช่น กฎหมายว่าด้วยการปกป้องแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเหลือง กฎหมายว่าด้วยการพิทักษ์ดินดำ กฎหมายป้องกันและควบคุมมลพิษทางเสียง
แต่ผลการขับเคลื่อนแผนดังกล่าว ทำได้แค่ชุลมุนอยู่กับการกำจัดขยะ จำนวนมหาศาล