ตั้งแต่ปี พ.ศ.2566 รัฐราชการ ได้ดำเนินโครงการทำฝนเทียมกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก พีเอ็ม 2.5 และใช้งบประมาณดำเนินการปีละ ร้อยกว่าล้านบาทในการทำฝนเทียม และคณะรัฐมนตรียังอนุมัติงบประมาณ 350 ล้านบาทสร้างโรงงานน้ำแข็งแห้ง สำหรับป้อนการทำฝนเทียม
การดำเนินการดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่ไม่คุ้มค่าในเชิงการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำฝนเทียมมีข้อจำกัดในการทำได้ในห้วงเวลาจำกัด และไม่สามารถควบคุมให้เกิดประสิทธิภาพได้
- และปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก็มีปัญหารุนแรงเป็นพื้นที่บางจุด และอยู่ในห้วงเวลาจำกัด และมีปัญหารุนแรงในห้วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งห้วงเวลาดังกล่าวการทำฝนเทียมจะไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแผ่นดินใหญ่ของจีนและไซบีเรียพัดเข้ามาในประเทศไทย ลมนี้เป็น ลมแห้งและเย็น เนื่องจากพัดผ่านแผ่นดินกว้างก่อนถึงประเทศไทย
การใช้งบประมาณ เพื่อกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก พีเอ็ม 2.5 ที่ประหยัดและคุ้มค่า สามารถเลือกใช้ได้หลายวิธี เช่น
- หนึ่ง เครื่องพ่นหมอก มีต้นทุนต่ำถึงปานกลาง และมีประสิทธิภาพแม่นยำในพื้นที่เฉพาะเจาะจง เฉพาะพื้นที่
- สอง ระบบฉีดน้ำบนพื้นดิน โดยเฉพาะถนน มีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพลดฝุ่นในระดับพื้นได้ดี
- สาม ระบบฉีดน้ำคลุมพื้นที่เฉพาะ เช่นโรงเรียน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล สถานที่ก่อสร้าง มีต้นทุนตำ่ และมีประสิทธิภาพลดฝุ่นทันทีในพื้นที่เฉพาะ
- สี่ การใช้สารดักจับฝุ่น มีต้นทุนต่ำถึงปานกลาง และมีประสิทธิภาพลดฝุ่นทันทีในพื้นที่เฉพาะ
- ห้า ใช้เครื่องดักจับฝุ่นอุตสาหกรรม มีต้นทุนปานกลางถึงสูงและมีประสิทธิภาพลดฝุ่นในแหล่งกำเนิดโดยตรง