“เมื่อความรักของผู้หญิงคนหนึ่ง–กลายเป็นเรื่องเล่าประกอบการทำมาหากินของผู้ชายเจ้าชู้ยุคใหม่ —ขุนแผนยุคดิจิทัล โตโน่ภาคิน
—ในเชิง สื่อศึกษา, ความรักและการขอโทษกลายเป็นคอนเทนต์ที่วางแผนมาแล้วอย่างดี—ในรูปของ“พรีเซนเตอร์ของความเสียใจ” เป็นการออกแบบมาอย่างมืออาชีพ—เพื่อบรรเทาความดราม่ากลางเวทีคอนเสิดด้วยความโรแมนติก
—-เพื่อกลืนความผิดไปกับเสียงปรบมือ—และเสียงโห่ร้องด้วยความชื่นชม —เสริมพลังซีนพระเอกของโตโน่ ภาคินขึ้นทวีคูณ
—-บนความเศร้าของคนรัก —-ความเจ็บปวดใจที่โดนกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า —–เฝ้ารอให้โตโน่ภาคิน–หอบช่อดอกไม้มาง้อ
ทำไม “คนทำผิด” ถึงยังสามารถหากินได้อย่างมั่งคั่ง–บนเวทีความนิยมของมหาชนชาวไทย มอบเกียดติยศด้วยเรตราคาการร้องเพลงชั่วโมงละสองแสน โฆษณาสินค้าปีละยี่สิบสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ก็เพราะเป็นภาพที่แสดงถึง“อาการป่วย” ทางวัฒนธรรมและจิตสำนึกสาธารณะในสังคมไทย