วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ภารกิจรับจ้างสร้างความคลุมเคลือหรืออย่างไรกัน

สถาบันคลุมสมองของไทย (TDRI)ได้เผยแพร่ผลการประเมินฉากทัศน์อนาคตจากภาวะโลกรวนของไทย  4 ฉากทัศน์ คือ

1. ไทยหม่น (Gloomy)

2. ไทยหมองมลพิษ (Brownie)

3. ไทยผลิบาง (Green but vulnerable)

4. ไทยยืดหยุ่นและยั่งยืน

ผลการประเมินดังกล่าว เป็นที่น่าอนาถใจอย่างยิ่ง ที่กรอบการประเมินให้ความสำคัญกับลูกจ้างที่เป็นปรสิตของประชาสังคม ทำงานไม่ได้ต้องยุบเลิกไป  ไม่ใช่มานั่งปั้นจิ้มปั้นเจ่อว่าถ้าพวกตรูไม่ทำงาน….มีหนาวนะย่ะ   ถ้าเป็นบริษัทคงไม่มีที่บริษัทจะมีฉากทัศน์ส่วนใหญ่ขึ้นกับลูกจ้างเอื้อไม่เอื้อในลักษณะนี้

“ไทยหม่น (Gloomy) เป็นฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุด และไทยหมองมลพิษ (Brownie) เป็นฉากทัศน์ที่ดีกว่าไทยหม่นตรงที่ภาคเอกชนและประชาชนมีความตระหนักในปัญหาและมีการปรับตัว แต่ภาครัฐยังไม่เอื้อ ส่วนฉากทัศน์ที่รัฐมีการปรับตัวก็มี 2 ฉากทัศน์ คือ ไทยผลิบาง (Green but vulnerable) คือ การบูรณาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐดีขึ้นมากแต่ยังขาดการบูรณาการฐานข้อมูลด้านภูมิอากาศและฉากทัศน์สุดท้ายเป็นฉากทัศน์ที่พึงประสงค์ คือ ไทยยืดหยุ่นและยั่งยืน คือ ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน”

จากผลการศึกษาวิจัย บอกสังคมว่าประเทศไทยมีระบบราชการที่เป็นอิสระจากการควบคุมของประชาชน เหล่ข้าราชการมีอิสระที่จะทำหรือไม่ทำอะไรได้ตามใขชอบ (คนในระบบราชการเปลี่ยนแปลงการปกครองเอาการควบคุมของเจ้าออกไป แล้วตัวเองเป็นอิสระหราว่ะ) ความจริงในระบบประชาธิปไตยคือพวกเราที่เป็นนายจ้างต้องใส่ใจ อย่าปล่อยให้ทำตามอำเภอใจอย่างที่สถาบันคลุมสมองประเมินดังกล่าวข้างต้น  ถ้าในประเทศที่มีความเข้มแข็งของประชาธิปไตย จะไม่มทีกรอบแนวคิดในการศึกษาในลักษณะนี้ได้เลย

—————xxxxxxxxxxxxxxx——————