วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

ความท้ายทาย

การเดินฝ่าฟันสู่สังคมนิรภัย เราต้องฟาดฟันกับปราการอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ คือ

1. รัฐราชการที่โกหกล่อลวง และหน้าด้านทำตัวเป็นพ่อรู้ดี

เมื่อพิจารณาจากผลที่ควรได้รับจากการแก้ปัญหาสาธารณภัยต่างๆ แล้ว  น่าแปลกที่หลายๆ สถานการณ์ได้ชี้ให้รู้ว่ารัฐราชการเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหา (ในที่นี้ ไม่ได้ศึกษาจากผลความพึงพอใจของผู้ประสบสาธารณภัย) เป็นตัวค้ำยันกลไกสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย (จากการประเมินจาก CS Global Wealth Report 2018 ที่ออกมาเมื่อเดือน ต.ค.2561  ไทยขึ้นอันดับหนึ่ง เมื่อปี หลังจากติดหนึ่งในสิบอยู่หลายทศวรรษ https://www.thairath.co.th/news/society/1438630)

2. ความโกหกของนิติศาสตร์ ที่เป็นนิติศาสตร์เพื่อรัฐ ปกป้องความมั่นคงของรัฐ ไม่พยายามจำกัดอำนาจรัฐที่พยายามเข้ามารุกบ้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชน   เราจะเห็นกฎหมายที่วางระบบที่จะจัดการสาธารณภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ทั้งที่ควรจะเป็นการจัดการสาธารณภัยที่มีรัฐเป็นฐาน

3. ความเข้มแข็งของกลไกการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ หรือการสร้างความมั่งคั่งจากการเอาเปรียบประชาชนโดยการเอาเงินภาษีไปซื้อของแพงและเกินความต้องการจำเป็น  เป็นมหากาพย์ของทุกองคาพยพของราชการไทย  ร่วมกับพ่อค้า (องค์กรเล็กๆ) ร่วมกับนายทุน (องค์กรใหญ่ๆ  พรรคการเมือง)   รัฐไทยกระจายการสร้างพิพิธภัณฑ์หลายๆ พื้นที่  แห่งละไม่ตำกว่าแห่งละหนึ่งหมื่นล้านบาท  พร้อมค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลปีละ 40-50 ล้านบาท

4.คนเกิดหลังกาลควบคุมและปฎิบัติการในระบบการศึกษาของไทย  ทำให้แนวคิดของคนเกิดก่อนกาลถูกปฏิเสธถูกบิดเบือนถูกปกปิดไม่ให้ได้ศึกษารับรู้

จินตนาการแห่งสังคมนิรภัย

1.ปฏิรูปให้ประเทศมีราชการที่เล็ก รัฐไม่ทำอะไรมากนัก (?????) ทำตัวเป็นเพียงกรรมการ เป็นผู้สนับสนุน

2.เปิดประตูให้กับสังคมเชิงวิพากษ์

3.ปฏิรูปการศึกษาให้หลุดพ้นจากเงื้อมมือของคนเกิดหลังกาล ให้ไปอยู่ในมือของคนเกืดก่อนกาล  (พวกเกิดหลังกาลก็จะติดอยู่กับ

——-xxxxxxxxxxx————-