อคติทางปัญญาhttps://hmong.in.th/wiki/Cognitive_biases
“จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้” ที่ ไอน์สไตน์ ให้พวกเราเชื่อใจในจินตนาการของตัวเองมากกว่าความรู้ที่พวกเรามี และจินตนาการของไอน์สไตน์ หมายถึงความกล้าที่จะคิดหลุดออกมาจากกรอบเดิมๆ เมื่อมีหลักฐาน ข้อเท็จจริง และเหตุผลรองรับที่เพียงพอ ไม่ใช่การเพ้อฝันไปโดยขาดหลักการและเหตุผล
ดังนั้น อคตืทางปัญญาจึงหมายถึง การติดยึดในกรอบเดิมๆ แม้จะพบจะเจอ/จะรับรู้หลักฐาน ข้อเท็จจริง และเหตุผลรองรับที่เพียงพอก็ตาม ซึ่งหากเป็นเช่นดังกล่าวเกิดขึ้นกับการจัดการสาธารณภัย มักจะทำให้มีการดำเนินการซ้ำเติมปัญหาให้มีผลกระทบกว้างขวางขึ้น ดังเช่น ภัยพิบัติขนาดเล็กๆ จนถึงขนาดกลางซ้ำๆ ซากๆ (ทั้งๆ ที่พอจะใช้ศักยภาพจัดการได้)
การจัดการสาธารณภัยภายใต้อคติทางปัญญา
รัฐราชการปรสิตของไทย ได้มีการจัดการสาธารณภัยแบบโฆษณาชวนเชื่อให้ที่ผู้คนไม่สนใจข้อเท็จจริงเท่าสิ่งที่รัฐราชการปรสิตอยากจะเชื่อ ในสังคมที่ผู้คนไม่สนใจจะใช้ทั้งข้อเท็จจริง และความรู้ในการคิดวิเคราะห์ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการอย่างที่ถูก และที่ควรจะเป็น?
ทั้งนี้ พฤติการณ์โฆษณาชวนเชื่อ (แบบตรงข้ามกับการสร้างความหวาดกลัวเพื่อลดการใช้สิทธิโดยเสรี คือการหลอกลวงให้พึงพอใจกับแนวทางที่ล้มเหลวของรัฐราชการปรสิตเอง) จะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการปฏิรูประบบราชการโดยพวกข้าราชการเอง อย่าเป็นคนไม่สนใจจะใช้ทั้งข้อเท็จจริง และความรู้ในการคิดวิเคราะห์ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการอย่างที่ถูก และที่ควรจะเป็น? แล้วสังคมไทยจะเป็นสังคมนิรภัยได้อย่างง่ายดาย
————–xxxxxxxxx——————–