ด้วยคนจนมีข้อจำกัดในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและสังคมน้อยกว่าคนรวย และผมเองมโนว่าคนจนจะผลิต/ประกอบสร้างสาธารณภัยขึ้นน้อยกว่าคนรวย เนื่องด้วยข้อมูลที่เด่นชัด ๒ ประการ คือ
1.คนจนครอบครองพื้นที่ที่ถูกทำลายจากสภาพป่าตามธรรมชาติมากกว่าคนจน
2.คนรวยใช้ทรัพยากรต่างๆ มากกว่า/สิ้นเปลืองกว่าคนจน ซึ่งมรัพยากรต่างๆ จะต้องมีกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ทรัพยากรการผลิต ใช้พลังงานในการผลิต และการควบคุมการผลิตที่สะอาดปลอดภัยหละหลวมทำให้มีการปล่อยมลพิษจำนวนมาก
การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความยากจนให้มีประสิทธิผลและเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น ขับเคลื่อนด้วย “โมเดล 3 ป.4ช.” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 แนวคิด 3 ป.
มีกรอบแนวคิดในการมุ่งสู่เป้าหมายด้วยแนวคิด 3 ป. คือ
1) เปิดช่องทาง สร้างช่องทางให้คนจนได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองจากการมีกิจกรรมทางเศณษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง
2) ปลดภาระ สร้างระบบช่วยเหลือหรือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ให้แก่คนจน
3) ปรับเพิ่มให้
– ติดตามและให้ความคุ้มครองทางสังคมอย่างรวดเร็วหรือเร่งด่วน
– จัดระบบรองรับผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนจน
ทั้งนี้ การนำแนวคิด 3 ป. ดังกล่าวมาขับเคลื่อน ภายใต้กรอบแนวทางปฏิบัติ 4 ช.
แนวคิด 4 ช.
1) ชี้เป้าหมายร่วมกันอย่างมียุทธศาสตร์
1.1) นิยามความหมายของคำว่า “คนจน” ให้ตรงกันในทุกหน่วยงานและจัดสรรงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ตรงเข้าไปแก้ไขคนจนที่ถูกนิยามเหมือนกัน
1.2) ค้นหาคนจนจริงที่ไม่อยู่ในระบบให้เข้าสู่ระบบ และแยกคนจนไม่จริงหรือพ้นความยากจนออกจากระบบ สอบทานข้อมูลกับกลไกและแผนพัฒนาจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาความยากจน สรุปข้อมูลในพื้นที่ มีคนจนจำนวนเท่าไหร่ อยู่ในชุมชนหมู่บ้านใด มีปัญหาเฉพาะด้านใด โดยแบ่งเป็นคนจน 5 ประเภทคือ
(1) คนจนด้านสุขภาพ
(2) คนจนด้านความเป็นอยู่
(3) คนจนด้านการศึกษา
(4) คนจนด้านรายได้
(5) คนจนด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ
2) ชี้เศรษฐกิจหมุนเวียนของคนจนในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน (ให้คนจนซื้อ-ขาย /แลกเปลี่ยนในทุกชุมชนหมู่บ้าน)
2.1 สร้างโอกาสในการมีรายได้ทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างเครื่องมือกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น
1) การหาพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และประสานให้มีการเช่าพื้นที่
2) การหานายจ้างให้กับคนจนในการรับจ้างอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
3) การหาผู้ประกอบการว่าจ้างการผลิต
2.2 พัฒนากลไกดูดซับเศรษฐกิจคนจน คือ
1) การขอความอนุเคราะห์ร้านค้า ส่วนราชการ ขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ ของคนจน
2) การจับคู่ดีมานด์กับซัพพลายให้มาเจอกันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3) สร้างตลาดออนไลน์ และตลาดออนกราวด์ / “ตลาดวัฒนธรรม” เพื่อเป็นพื้นที่ระบายสินค้าให้คนจน (ให้เด็กและเยาวชนมาแสดงศิลปวัฒนธรรม / ขอความร่วมมือผู้ประกอบการมาร่วมขายสินค้าราคาถูก)
3. ชี้ระบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคม (ลดรายจ่ายและสร้างโอกาส)
3.1 มีระบบเฉพาะขึ้น ในการประสานและส่งต่อระบบการช่วยเหลือ ระบบสงเคราะห์ ของทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งการดำรงชีพ (ลดค่าน้ำ -ค่าไฟฟ้า สินค้าอุปโภค-บริโภค) ที่อยู่อาศัย การศึกษา และสุขภาพ เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เป็นต้น
3.2 มีระบบเฉพาะกิจขึ้น ในการช่วยเหลือการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐาน การถือกรรมสิทธิ์ และใช้ประโยชน์เหนือที่ดินและทรัพย์สิน
4. ชี้ภูมิต้านทานและลดการเปิดรับความเปราะบางต่อเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศและภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ที่ยากจน
4.1 การติดตาม/ตรวจสอบสภาพการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4.2 เตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
———xxxxxxxxxxx————