วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

กะลาสาธารณภัยในประเทศไทย

ภายใต้แรงกดดันจากความถี่และความรุนแรงของสาธารณภัย  เหล่ารัฐราชการปรสิตด้านสาธารณภัย ได้ยึดถือประวัติศาสตร์แบบแผนการปกครองมาใช้ในการดำเนินงาน ไม่แยแสว่าระเบียบแบบแผนทางสังคมใหม่ๆ ของสังคมในปัจจุบันไม่อาจจะสอดคล้องกับแบบแผนดังกล่าวหรือไม่ ด้วยความสามารถในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อในประสิทธิผลและความต้องการจำเป็นทำให้ยังคงลอยหน้าลอยตาอย่างหนาๆ ที่เรียกว่าความชอบธรรม ความสมเหตุสมผลในการดำเนินงานขององค์กร  ที่กล่าวมาเราเรียกว่า “กะลาสาธารณภัย”

ประดิษฐกรรมของรัฐราชการปรสิตในกะลาสาธารณภัย (กลยุทธ์เหี้ยครองเมือง)

เป็นระเบียบแบบแผนของปรสิตที่ผลิตออกมาภายใต้หลักกฎหมายและเหตุผล  แบบแผนดังกล่าว แยกได้ 2 ประการ คือ

1.การแบ่งแยกเพื่อปกครอง ทั้งนี้แยกโดยแบ่งแยกความคิดให้มีสองฝักสองฝ่าย กลยุทธ์คือ จะต้องมีพวกที่ยอมรับค่านิยมของภารกิจรัฐราชการปรสิตในพื้นที่สาธารณะ ต้องชื่นชอบชื่นชมและร่วมมือที่จะอยู่อย่างสมยอม เป็นลักษณะซื้อใจประชาชนที่อยู่ในสภาพยากแค้นแสนเข็ญ ไม่ยอมให้เกิดการเข็ดขยาดจนจำเป็นต้องเอาหัวชนกะลาให้แตก ยอมตาย ยอมเจ็บเกิดขึ้น  กับพวกที่จะไม่ยอมให้เห็นกดขี่บีฑา เห็นปัญหาที่กดทับอยู่และต้องการแก้ไขอันจะทำให้เกิดการต่อสู้เพื่ออนาคตของตัวเองและลูกหลาน รู้ทันการซื้อใจการโฆษณาชวนเชื่อ

2.การชูศีลธรรมความดี กลยุทธ์ คือ ยกความสัมพันธ์ที่เป็นทางการมากำกับ ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างผู้เปราะบางกับรัฐราชการปรสิต กลไกของรัฐจะต้องให้คุณให้โทษได้ดี ตระหนักในพลานุภาพหรือยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ค้ำชู บุญคุณความแค้น ตอบแทนกันอย่างหวานซึ้ง  หากไม่เป็นไปตามที่กล่าว ก็จะกระบวนการตีตราว่าเป็นคนเลวของสังคม เป็นพวกที่ไร้ซึ่งความรู้ความเข้าใจ (แม้กระทั่งการดำเนินวิถีชีวิตของตน)

ความคงทนประดิษฐกรรมของปรสิต

จากการศึกษาความมั่นคงของปรสิตรัฐราชการจากผู้ประสบภัย แทบไม่น่าเชื่อกับเหตุผลที่ทำให้ปรสิตขยายแพร่พันธ์ได้ในยุคศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ

1. รู้สึกติดใจในเสน่ห์ของรัฐราชการปรสิต

2.มีบรรทัดฐานว่ารัฐราชการจะรู้ดีและเก่งกว่าพวกตนทุกเรื่อง

3.ปกป้องความเสี่่ยงของตนเองเพื่อปกป้องบุคลิกภาพของตนเอง

———xxxxxxxxxxx———–