จากการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบการเรียนรู้เพื่อทำงานรับใช้ประชาชนด้านภัยพิบัติขององค์กรที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อีสานใต้ พบว่าจะมีการเรียนรู้ทั้งราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนภูมิภาคประชาชนไม่อาจคาดหวังศักยภาพขององค์กรให้เป็นที่พึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
ตารางแสดงการเปรียบเทียบ
|
ราชการส่วนภูมิภาค |
ค่าเฉลี่ย |
ราชการส่วนท้องถิ่น |
ค่าเฉลี่ย |
สมรรถนะของคนในองค์กร |
มีสมรรถนะที่สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานสูง |
4.1 |
สมรรถนะที่สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานต่ำ |
3.8 |
กรอบจริยธรรมระเบียบปฏิบัติ |
นำมาเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์และเพื่อให้รอดตัว |
4.3 |
นำมาเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์และเพื่อให้รอดตัว |
3.9 |
เรียนรู้จากการประเมินผล |
ให้ความสำคัญประเมินผลเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ/ตำแหน่ง/เงินเดือน แม้จะประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการแต่ก็นำมาปรับปรุงองค์กรน้อยมาก |
4.8 |
ประเมินผลด้านความพึงพอใจของประชาชนและนำมาใช้ปรับปรุงองค์กร |
4.6 |
เรียนรู้จากหน่วยงานเดียวกัน |
มีความเป็นเอกภาพสูงในการเรียนรู้ร่วมกัน |
4.6 |
ไม่พบร่องรอยการเรียนรู้ระหว่างองค์กรต่างพื้นที่ ส่วนใหญ่ขึ้นกับความใผ่รู้ของเจ้าหน้าที่ |
4.8 |
เรียนรู้จากบทเรียน |
มีการถอดบทเรียนและแต่ไม่สามารถนำมาเปลี่ยนทิศทางองค์กรได้ |
3.6 |
การถอดบทเรียนมีน้อยมาก |
3.1 |
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากตารางการเปรียบเทียบจะพบว่าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้น้อยกว่าราชการส่วนภูมิภาค แต่การเรียนรู้ของราชการส่วนภูมิภาคนั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงการให้บริการประชาชนโดยตรง (ทำงานตั้งเยอะแยะไม่รู้ประชาชนได้อะไร นานๆ ทีจึงจะได้มีโอกาสได้สัมผัสบริการครั้งหนึ่ง)
————xxxxxxxx————–