วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

มนุษย์มีวิวัฒนาการจากเด็กสู่เชิงตะกอน นั้นแต่ละคนก็ผ่านเบ้าหลอมมาแตกต่างกัน โดยที่สังคมไทยก็ได้พัฒนาเบ้าหลอมที่เป็นระบบอยู่ 4 เบ้าหลอม ได้แก่

1. ระบบโครงสร้างสังคม

1.1 ทางสังคมและการเมือง  เป็นการร่วมกันกำหนดโครงสร้างตำแหน่งและสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมให้กับบุคคล (Socioeconomic Position) เช่น ลำดับชนชั้นตามรายได้ การศึกษา อาชีพ เพศ เชื้อชาติ ที่ล้วนส่งผลต่อการมีสิทธิมีเสียงและการเข้าถึงทรัพยากรของบุคคลเหล่านั้น โดยให้รัฐมีโครงสร้างการกำกับดูแล

1.2 ทางเศรษฐกิจ เป็นการแลกเปลี่ยนความสามารถในการผลิตระหว่างกัน

2. การจัดระเบียบทางสังคม.

2.1 การสาธารณสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ พฤติกรรม และปัจจัยทางชีววิทยา

2.2 เชื้อชาติ รัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

3 สถาบันทางสังคม

3.1 การศึกษาวิจัย เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนรู้ เช่นโรงเรียน มหาวิทยาลัย

3.2 การให้กำเหนิดและอบรมเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ครอบครัว ชุมชน

3.3 บรรทัดฐาน ทัศนคติ ความเชื่อ อุดมคติหรืออุดมการณ์ เช่น ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

4. การควบคุมทางสังคม.

4.1 ระเบียบ กฎหมาย  พันธะสัญญา (contract)

4.2 จริยธรรมและคุณธรรม

4.3 การตระหนักรู้  ต่อมจิตสำนึก

4.4 ระบบเครือญาติ  ความผูกพัน  ความจงรักภักดี (fidality)

เปรียบเทียบเบ้าหลอมสู่สังคมนิรภัยของราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนท้องถิ่น

ราชการส่วนภูมิภาค ค่าเฉลี่ย ราชการส่วนท้องถิ่น ค่าเฉลี่ย
ระบบโครงสร้างสังคม 1.พัฒนาภูมิรัฐศาสตร์แบบอาณานิคม และไม่แยแสความไม่เป็นธรรมทางสังคม

2.อำนวยการต่อชนชั้นสูง  กำกับสงเคราะห์ชนชั้นล่าง

3.เป็นมือเป็นเท้ากำกับควบคุมการพัฒนาชนชั้นและตำแหน่งทางสังคม

4.ไม่สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

4.8

1.อยู่ติดกับความไม่เป็นธรรม แต่ไม่มีสมรรถนะ  ถูกกดทับจากโครงสร้าง

2.ไม่แยแสต่อระบบนิเวศที่มั่นคง ทรัพยากรที่ยั่งยืน

3.พัฒนาแบบกักขังประชาชนอยู่ภายใต้ลัทธิอาณานิคมเศรษฐกิจ

4.ไม่สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

4.9

การจัดระเบียบทางสังคม 1.เป็นมือเป็นเท้ารักษาควบคุมความมั่นคงปลอดภัย สันติภาพ มั่นคงทางอาหาร สาธารณสุข

2.สร้างความเข้มแข็งให้รัฐ  กักขังเสรีภาพประชาชน

4.7

1.ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทุกด้าน

2.สร้างความเข้มแข็งให้รัฐ  สนุบสนุนการกักขังเสรีภาพประชาชน

4.6

สถาบันทางสังคม 1.อ่อนแอในการให้การศึกษาทั้งต่อประชาชนและศึกษาวิจัยจากการทำงาน

4.6

1.ไม่สามารถเป็นมือเป็นไม้ของประชาชนได้

2.อ่อนแอในการให้การศึกษาทั้งต่อประชาชนและศึกษาวิจัยจากการทำงาน

4.7

การควบคุมทางสังคม 1.ปฏิบัติการขยายอำนาจควบคุมของรัฐลงสู่ครอบครัว

2.ก้าวก่ายยึดกุมอำนาจของท้องถิ่น

4.9

ไม่มีสมรรถนะในการใช้การควบคุมทางสังคมมาสร้างความเข้มแข็งหนุนกลไกการขับเคลื่อนพัฒนา

4.8

สรุป

ทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นไม่มีสำนึกที่จะเป็นเบ้าหลอมที่ดีต่อการพัฒนาไปสู่สังคมนิรภัย  มีสถานะอ่อนแอทั้งคู่ ราชการส่วนภูมิภาคเป็นมือเป็นเท้าของส่วนกลางที่เข้ามาบีบคอกดหัวส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสู่สังคมนิรภัย  ประชาชนภายใต้ราชการส่วนท้องถิ่นเหมือนช่วยประชาชนลุกขึ้นนั่งพนมมือ สู้กับอารยธรรมยุคอโยธยา