วิทยาการสาธารณภัย By ดร.วัฒกานต์ ลาภสาร

การก่อร่างเป็นรัฐราชการปรสิตนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการก่อร่าง โดยสามารถแบ่งปัจจัยได้เป็นหลักๆ ดังนี้

    1. ปัจจัยทางกฎหมาย: โดยจะต้องมีการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายในการหาผลประโยชน์ เรียกร้องผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
    2. ปัจจัยทางนโยบาย: การกำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อรองรับการทำธุรกิจของพวกพ้องเครือข่าย หรือ สร้างโอกาสให้กับพรรคพวกเครือข่าย
    3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ: การกำหนดทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่จำเป็น  การจัดสรรงบประมาณและการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พวกพ้องเครือข่าย ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมประโยชน์สาธารณะ
    4. ปัจจัยทางสังคม: จะมีแนวทางในการบิดเบือนหรือไม่พิจารณาถึงความต้องการของประชาชน ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีประชามติในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ที่กล่าวข้างต้น เป็นแนวทางกว้างๆ ของปัจจัยที่ก่อร่างตัวปรสิตขึ้นมา เมื่อพิจารณาฤทธิ์เดชของตัวปรสิตในบทบาทรัฐราชการ ก็จะเห็นฤทธิ์เดชของตัวปรสิตที่ก่อให้เกิดสาธารณภัย ดังนี้

1.ด้านอุตสาหกรรม

จะเป็นไปด้วยแนวทางซุกซ่อนอดีตอันเหลวไหลของมนุษย์ เช่นการก่อสร้างโรงงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล การควบคุมมลพิษจากการผลิตไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ปลอดภัย สิ่งอันเป็นบ่อเกิดสาธารณภัย การปล่อยสารพิษจากโรงงานหรือโรงงานที่มีการผลิตสารเคมีอาจเป็นต้นเหตุให้เกิดสารพิษในอากาศ น้ำ และดิน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

2.ด้านเกษตรกรรม

จะเป็นไปด้วยการสร้างอาณานิคมการค้าสารเคมี

3.ด้านพาณิชยกรรม

จะเป็นไปด้วยการผูกขาดด้วยพรรคพวกเครือข่าย ไม่มีการควบคุมการประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือหลักเกณฑ์ความยั่งยืน

4.ด้านการพัฒนาประเทศ

จะเป็นไปด้วยแนวทางที่เอื้อให้เกิดการทำลายสมดุล เพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การพัฒนาเทคโนโลยีและการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างไม่มีความรับผิดชอบต่อการเสื่อมโทรมและการล่มสลายของสิ่งแวดล้อม

5.ด้านระบบระเบียบการปกครอง

จะเป็นไปด้วยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ล่าช้า ไม่มีการเตรียมความพร้อม ไม่มีความยืดหยุ่น